การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดทดลอง เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม

Main Article Content

เยาวลักษณ์ นะฝั้น
อัมพร วัจนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดทดลอง เรื่อง การแยกสาร
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดทดลอง เรื่อง การแยกสาร
3) เพื่อศึกษาทักษะการทดลองหลังเรียนด้วยชุดทดลอง เรื่อง การแยกสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
จำนวน 63 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดทดลอง เรื่อง การแยกสาร
2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การแยกสาร 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์4 เรื่อง การแยกสาร 4) แบบประเมินทักษะการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูล
หาประสิทธิภาพชุดทดลองตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 โดยใช้ค่าเฉลี่ยและร้อยละ วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและทักษะการทดลองหลังเรียนด้วยชุดทดลองโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบ dependent sample t-test เปรียบเทียบทักษะการทดลองหลังเรียนด้วยชุดทดลองกับค่าคงที่ 7.20 โดยใช้การทดสอบค่าทีแบบ one sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดทดลอง เรื่อง การแยกสาร มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.13/80.67 สอดคล้องตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดทดลอง เรื่อง การแยกสาร สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีทักษะการทดลองหลังเรียนด้วยชุดทดลอง เรื่อง การแยกสาร อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยของทักษะการทดลอง (𝑥̅ =7.85) มากกว่าค่าคงที่ 7.20 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
นะฝั้น เ., & วัจนะ อ. (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดทดลอง เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดสุทธาราม. Journal of Modern Learning Development, 9(2), 73–86. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/264534
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประภัสสร ขันแข็ง. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมการทดลอง เรื่อง

การแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล). เอกสาร

การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56. 30 มกราคม 2561. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พาฝัน วรกา. (2560). การใช้ชุดทดลองที่ประดิษฐ์จากกระดาษอย่างง่ายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องโปรตีนบนพื้นฐานกิจกรรมการลงมือปฏิบัติจริง. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิดและเทคนิคการสอน 1.

กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์ จำกัด.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร:

สุวีริยาสาส์น.

วรรณทิพา รอดแรงค้า และ พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2542). การพัฒนาการคิดของครูด้วยกิจกรรมทักษะ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนา คุณภาพวิชาการ.

ศิวกร กตัญญูนุสรณ์. (2563). การพัฒนาชุดทดลองฟิสิกส์ เรื่อง แรงเสียดทาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยรังสิต.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร:

สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาร์ซีซ๊ะ ดินอะ. (2561). การสร้างชุดทดลองการไทเทรตอย่างง่ายแบบย่อส่วนและต้นทุนต่ำเพื่อส่งเสริม

การเรียน ทักษะการทดลอง และความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 5 เรื่อง กรด-เบส.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย

อุบลราชธานี.