การสร้างแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลายในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดมุงหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติการวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยกลุ่มประชากรจำนวน 20,150 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 395 คน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตามแนวคิดของ Dressel and Mayhew จำนวน 42 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย สัมประสิทธิ์การกระจาย ความเบ้ ความโด่ง เปอร์เซ็นไทล์ คะแนนมาตรฐานทีแบบแจกแจงปกติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถในการนิยามปัญหา ความสามารถในการเลือกข้อมูลเกี่ยวข้องกับการหาคำตอบของปัญหา ความสามารถในการจัดระบบข้อมูล ความสามารถในการกำหนดและเลือกสมมติฐาน และความสามารถในการลงข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผล โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.17 ถึง 0.40 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 0.54 ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงทั้งฉบับมีค่า 0.899 และความตรงเชิงโครงสร้าง 2) การสร้างเกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่น ของแบบวัดแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณสูง เมื่อมีคะแนน 33 คะแนนขึ้นไป (≥T57), การคิดอย่างมีวิจารณญาณค่อนข้างสูง เมื่อมีคะแนนตั้งแต่ 27-32 คะแนน (T50 – T56), การคิดอย่างมีวิจารณญาณปานกลาง เมื่อมีคะแนนตั้งแต่ 22-26 คะแนน (T46 – T49), และการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่ำ เมื่อมีคะแนนน้อยกว่า 22 คะแนน (น้อยกว่า T46)
Article Details
References
ณัฐารส ภูคา. (2564). การสร้างแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบ(Systems thinking) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุจารี สำอางค์. (2564). การพัฒนาแบบวัดสร้างสรรค์นวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปณิชา ชัยกุลภัทรโชติ (2563). การพัฒนาแบบวัดทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.