ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะ
ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2566 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2566 และ 3) ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2566 ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม ประชากรในการวิจัยได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 777,509 คน ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 4 โครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยรวมมีค่าความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำมาก เท่ากับ .300 และ 3) ข้อเสนอแนะของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2566 ดังนี้ 1) งานบริการผู้รับการสงเคราะห์ในสถานสงเคราะห์คนชราจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ ควรมีสถานพยาบาลหรือมีพยาบาลมาให้การตรวจรักษาที่สถานสงเคราะห์เนื่องจากสถานสงเคราะห์คนชราจังหวัดมหาสารคามอยู่ไกลจากโรงพยาบาล 2) งานการรับแจ้งเหตุและการสั่งการออกเหตุทางการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และสามารถทำงานได้จริงในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ได้รับความปลอดภัย 3) งานการจัดเก็บภาษี ได้แก่ ควรจัดอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อจักได้นำมาใช้ในระบบการจัดเก็บภาษาที่จะทำให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และ 4) งานช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ได้แก่ ควรมีการประเมินความเสียหายและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
Article Details
References
ชวนพิศ เงินฉลาด.(2562). แรงจูงใจในการบริการสาธารณะ กรณีศึกษาศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้. งานทุนวิจัยของสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2560). กฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556).การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.(2565).ความพึงพอใจของผู้รับบริการของเทศบาลนครสมุทรปราการ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ .รายงานโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทากับเทศบาลนครสมุทรปราการ. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.
มหาวิทยาลัยทักษิณ .(2565).รายงานผลการวิจัยเชิงสำรวจประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการงานบริการสาธารณะ ของเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. รายงานโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยทักษิณกับเทศบาลนครสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศศิธร วชิรปัญญาพงศ์ และคณะ. (2565) .รายงานผลการสํารวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี ประจําปีงบประมาณ 2565. ลพบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สนอง ใกล้ชิด. (2560). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.ภาคนิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนานาชาติ แสตมฟอร์ด.
เสาวลักษณ์ ดีมั่น . (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.
Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York : Harper and Row.