ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเข้าร่วม งานวิ่งของนักวิ่งจังหวัดตรัง

Main Article Content

ภิญญาณัฏฐ สมาธิ
ศุภลักษณ์ สุขเสน
ยิ่งยง มัจฉาชีพ
ณิชานันทน์ วงษ์วิวัฒน์
สุภาพ เพชรแก้ว
นิกร ยาสมร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการเพื่อ 1.) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับความตั้งใจเข้าร่วมงานวิ่งของนักวิ่งในจังหวัดตรัง 2.) เพื่อทดสอบอิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อความตั้งใจเข้าร่วมงานวิ่งของนักวิ่งในจังหวัดตรัง โดยได้เก็บข้อมูลจากนักวิ่งในจังหวัดตรัง จำนวน 400 ชุด ด้วยแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ทุกด้านมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจเข้าร่วมงานวิ่ง และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพและด้านกระบวนการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการเข้าร่วมงานวิ่ง และด้านราคามีอิทธิพลเชิงลบต่อความตั้งใจในการเข้าร่วมงานวิ่ง ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถนำมาเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมงานวิ่งให้มีความดึงดูดใจนักวิ่งในการเข้าร่วมกิจกรรม และสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของนักวิ่ง

Article Details

How to Cite
สมาธิ ภ. ., สุขเสน ศ. ., มัจฉาชีพ ย., วงษ์วิวัฒน์ ณ. ., เพชรแก้ว ส., & ยาสมร น. . . (2024). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเข้าร่วม งานวิ่งของนักวิ่งจังหวัดตรัง. Journal of Modern Learning Development, 9(4), 206–220. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/270492
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566-2570). https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/140D075S0000000002700.pdf

ชญาดา สมศักดิ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ายี่ห้ออิเกียของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐพันธุ์ อุไรลักษมี. (2561). การส่งเสริมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมแข่งขันของนักวิ่ง มาราธอนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดลยา เคราะห์ดี. (2555). การใช้ปัจจัยในการตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งงานสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดกรุงเทพมาราธอนของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

ดวงพร เลี้ยงรักษา, วิชากร เฮงษฎีกุล และ พุฒิธร จิรายุส. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมงานวิ่ง แบบมินิฮาล์ฟมาราธอนในสวนพุทธมณฑล. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7 (3), 111-119.

บวรวิชญ์ กันทรัญ และ ศรัญญา กันตะบุตร. (2565). ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อนักวิ่งในการเลือกการแข่งขันวิ่งเทรลในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 8 (4), 158-165.

ภัทรวดี อ่อนเอกสิทธิ์. (2565). กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมงานวิ่งถนนในประเทศไทยหลังโควิด-19. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์.

ภาณุพงศ์ ชัยวิริยะพงศ์, และ เสาวลักษณ์ กู้เจริญประสิทธิ์. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมงานวิ่งในประเทศไทยในช่วงภายหลัง การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เริ่มคลี่คลายลง. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์. 5 (4), 54-63.

ภูษณพาส สมนิล, โฆษิตพิพัฒน์ สีหานู, ณัฐวุฒิ นิลแสง และจุฑารัตน์ ไชยมณี. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของกิจกรรมงานวิ่งเทรล. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 21 (2), 295-310.

รสิกา จันทร์โชติเสถียร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมงานวิ่งมาราธอน Run for life ของประชากรในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

แลต๊ะแลใต้ นักข่าวพลเมือง องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: อนาคตเศรษฐกิจตรังกับเมืองคนช่างกิน. THECITIZEN. PLUS. https://thecitizen.plus/node/82859

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563). ธุรกิจจัดงานวิ่งปี’63: ฝ่าฝุ่น PM2.5 สร้างมูลค่า 1,700 ล้านบาท (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 3085). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2563. แหล่งที่มา: https://www. kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3085.aspx

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร.

อัศวิน แผ่นเทอดไทย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ร่วมงานอีเวนต์มาราธอน. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. (4th ed.). USA: John Wiley & Sons, Inc.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3d ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.

Kotler, P. and Keller, K. (2016). Marketing Management. (15th ed.). NewJersey: Pearson Education.

Nunnally, J.C. and Bernstein, I.H. (1994). Psychometric theory. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.