การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขาทรายทับคล้อพิทยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขาทรายทับคล้อพิทยา ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ6R และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ6R เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 35 คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ6R สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน
เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ6R พบว่า คะแนนสอบ
หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ6R โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅) เท่ากับ 4.76 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.42 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านครูผู้สอน รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านเนื้อหา ด้านการวัดและประเมินผล และด้านกิจกรรมการเรียนรู้
Article Details
References
กมลพรรณ ประเสริฐศิลป์. (2565). ผลการใช้เทคนิค SQ6R และเอกสารจริงเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กรมวิชาการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กาญจนา วุฒิศักดิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิด “สอนแบบไม่สอน” เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จันทรพิมพ์ รังษี. (2565). การพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการใช้เทคนิค SQ6R
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนรัตนราษฎร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัชชาภรณ์ สาโรจน์. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอุทัยวิทยาคม จังหวัดอุทัยธานี. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พรพรรณ พูลเขาล้าน. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค SQ4R. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรรณทิพย์ภา ปาลวัฒน์. (2564). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคเคดับเบิลยูแอลพลัสสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวิจัย กาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 15 (2), 1-10.
พัชราพรรณ จันสม. (2559). การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษ
และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการสอนแบบ เอส คิว โฟร์ อาร์ (SQ4R) และ เค ดับเบิ้ลยู แอลพลัส (KWL-Plus). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Avila, M. (2010). Instructional Practice SQ6R. Online: Retrieved November 12, 2023.
from http://web.bcoe.org/minicorps/foreading//index.cfm?
Rusmiati, R., Maharani, P. R., & Susidamaiyanti, S. (2022). The use of SQ6R method in increasing EFL students' reading comprehension. ACCENTIA: Journal of English Language and Education. 2 (1), 31-39.