ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อระงับความปวด ของผู้ป่วยหลังการได้รับการรักษาด้วยการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

นุชนารถ วงสินชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) แบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบความปวด และความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยหลังการได้รับการรักษาด้วยการสลายนิ่ว 2. เปรียบเทียบความรู้ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อระงับความปวดของผู้ป่วยหลังการได้รับการรักษาด้วยการสลายนิ่ว และ 3. วิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังการได้รับการรักษาด้วยการสลายนิ่วหลังเข้าร่วมโปรแกรม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – เดือน มีนาคม 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือ  ผู้ป่วยโรคนิ่วที่เข้ารับการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ด้วยโปรแกรม G*Power และกำหนดอำนาจในการทดสอบ (Power of test) ที่ระดับ 0.82 และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติทดสอบค่าที Paired t-test  
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความปวด (Pain Scale) ก่อนและหลังเข้าโปรแกรม พบว่า       มีค่าเฉลี่ยคะแนนความปวด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  2) หลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยมีความรู้อยู่ในระดับมาก และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังตารางที่ 2 3) โดยภาพรวมหลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ป่วยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.90 ดังนั้นเพื่อเป็นการขยายผลการวิจัยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย  สามารถนำโปรแกรมดังกล่าวไปประยุกต์เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดได้ เพื่อให้ผู้ป่วยรู้ถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง อาการปวด การปฏิบัติตน และการจัดการความปวดของตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้พยาบาลมีแนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่เป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถนำไปใช้ในทิศทางเดียวกัน  อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

Article Details

How to Cite
วงสินชัย น. . (2024). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อระงับความปวด ของผู้ป่วยหลังการได้รับการรักษาด้วยการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. Journal of Modern Learning Development, 9(3), 361–371. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/272620
บท
บทความวิจัย

References

โรงพยาบาลจุฬารัตน์ อินเตอร์ 3. (2566). คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยสลายนิ่ว. ศูนย์รักษาโรคมะเร็ง โรงเรียนจุฬารัตน์ อินเตอร์ เฮลท์.

พฤทธิ์ ธนะแพสย์. (2564). การเปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้เครื่องควบคุมความปวดด้วยตนเองกับการระงับความรู้สึกโดยการบริหารยาทางหลอดเลือดดำในการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงกระแทกในผู้ป่วยนิ่วในไตและท่อไตส่วนบน. ร้อยเอ็ดเวชสาร. 8 (1), 11-23.

ศิลดา การะเกตุ และคณะ. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดก่อนและหลังจากการรักษาโคลนสมุนไพรพอกเย็น ร่วมกับการนวดแผนไทยในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก จังหวัดพะเยา. >เชียงรายเวชสาร. 9 (2), 115-124

อรวรรณ ทรัพย์วรฤทธิ์. (2560). ผลของการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนต่อการลดความวิตกกังวลและความพึงพอใจในผู้ป่วยที่ได้รับการสลายนิ่วด้วยเครื่องสลายนิ่วคลื่นความถี่สูงโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 31 (4), 639 -648.

Dodd, M., Janson, S., Facione, N., Faucett, J., Froelicher, E. S., & Humphreys, J., et al. (2001). Advancing the science of symptom management. Journal of Advanced Nursing. 33 (5), 668-676.

Elke Bovelander. (2019). The Influence of Pain on the Outcome of Extracorporeal Shockwave Lithotripsy. Curr Urol. 8;12 (2), 81-87. doi: 10.1159/000489424.

Tilahun Alelign. (2018). Kidney Stone Disease: An Update on Current Concepts. Adv Urol. 4:2018:3068365. doi: 10.1155/2018/3068365. eCollection 2018.