การพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองและความยึดมั่นผูกพันในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการอ่านละเอียดเพื่อเขียน ร้อยกรองของทิมเมอร์แมนและจอห์นสัน

Main Article Content

อรรถวุฒิ ยงไธสง
พิณพนธ์ คงวิจิตต์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองโดยใช้กระบวนการอ่านละเอียดเพื่อเขียนร้อยกรองของทิมเมอร์แมนและจอห์นสันหลังการทดลองและ 2)  เปรียบเทียบความยึดมั่นผูกพันในการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการอ่านละเอียดเพื่อเขียนร้อยกรองของทิมเมอร์แมนและจอห์นสัน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Reseach)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 จำนวน  14 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random  Sampling)  ด้วยวิธีการจับสลากและใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มจำนวน 1 โรงเรียน เครื่องมือวิจัย  ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง 2) แบบสอบถามความยึดมั่นผูกพันในการเรียน วิเคราะห์คะแนนแบบทดสอบวัดความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง หลังการทดลองโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  (M)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และ t-test  วิเคราะห์คะแนนของแบบสอบถามความยึดมั่นผูกพันในการเรียนโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และ  t-test  ผลการวิจัยพบว่า  1) `นักเรียนมีความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (M = 84.39, SD = 7.91)  2) นักเรียนมีความยึดมั่นผูกพันในการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (M = 4.29, SD = 0.15)              

Article Details

How to Cite
ยงไธสง อ. . ., & คงวิจิตต์ พ. . . (2024). การพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองและความยึดมั่นผูกพันในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการอ่านละเอียดเพื่อเขียน ร้อยกรองของทิมเมอร์แมนและจอห์นสัน . Journal of Modern Learning Development, 9(11), 737–753. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/274300
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมวิชาการ. (2534). ความคิดสร้างสรรค์หลักสูตรทฤษฎีการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

จิตรา วสุวานิช. (2531). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

บุญมี พันธ์ไทย. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บุณยเสนอ ตรีวิเศษ. (2565). สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. สัมภาษณ์, 31 กรกฎาคม.

พิสณุ ฟองศรี. (2551).วิจัยชั้นเรียน: หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จากัด.

ธัณคยาณีย์ สิททิโชควรสกุล. (2565). ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านดอนยาว จังหวัดนครราชสีมา. สัมภาษณ์, 2 สิงหาคม.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทยชุดภาษาเพื่อชีวิต วรรณคดีลานา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์ (2541). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สุรัตน์ คำหอมชื่น. (2558). การพัฒนาความสามารถด้านการแต่งกลอนสุภาพ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIIRC. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

สมจิต สวธนไพบูลย์. (2535). ธรรมชาติวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

อิงอร สุพันธุ์วณิช. (2558). วรรณกรรมวิจารณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Adler, M. (2002). The role of play in writing development: A study of four high school creative writing classes (Publication No. 3039719). [Doctoral dissertation, University at Albany, State University of New York]. ProQuest Dissertations and Theses Global.

Best and Kahn James V. (1993). Research in Education. 7 th ed. Boston : Allyn and Bacon. p. 246.

Bloom, Benjamin S.,et al. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

Johnson, D. W. & Johnson, R. T. (1987). Learning together an alone: Cooperative and individualistic learning. (2nd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall International

Lee, S.-J. (2007). The Relations between the Student-Teacher Trust Relationship and School Success in the Case of Korean Middle Schools. Educational Studies, 33 (2), 209-216.

Nancy, S. (1978). The Teaching of Poetry in Grade Seven and Eight-A Survey of Theory, Practices, and Materials. Dissertation Abstract International, 39, 2857-2858.

Neddeau, B. (2016). Close Reading and Movement: A Lesson on Student Engagement and the Four Cs. Leaning Landscapes, 9 (2), 433-442.

Nicole, B. (2002). Saying It More Intensely: Using Sensory Experience to Teach Poetry Writing. The English Journal, Vol. 91, No. 3, Teaching and Writing Poetry (Jan., 2002), pp. 98-103 (6 pages)

Paiva, D. (2020). Poetry as a resonant method for multi-sensory research. Emotion, Space and Society, 34 (February 2020), 1-7. https://doi.org/10.1016/j.emospa.2020.100655

Timmermans, K. M., & Johnson, A. (2017). Introducing and Sustaining Close Reading andWriting Through Poetry. The Reading Teacher, 71 (3), 357-362.

Wilson, J. & Wing-Jan, L. (1993). Thinking for themselves: Developing strategies for reflective learning. Armadale, Australia: Eleanor Curtin.