ความกังวลในการเดินทางและความตั้งใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ความปกติใหม่ ของสถานการณ์โรคระบาดใหม่

Main Article Content

วิภารัตน์ สุราลัย
ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลด้านสภาวะโรคประจำตัวกับความกังวลในการเดินทางและความตั้งใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ความปกติใหม่ของสถานการณ์โรคระบาดใหม่ และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของความกังวลในการเดินทางต่อความตั้งใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ความปกติใหม่ของสถานการณ์โรคระบาดใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวไทย จำนวน 421 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย อัตราร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
           ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะส่วนบุคคลเกี่ยวกับภาวะโรคประจำตัวที่แตกต่างกัน มีระดับความกังวลในการเดินทางท่องเที่ยวและระดับความตั้งใจในการเดินท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความกังวลในการเดินทางมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวในระดับต่ำ (r = .112, p < .05) งานวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินมาตรการความปลอดภัยและสุขอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีผู้คนหนาแน่นอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความมั่นใจในการเดินทางท่องเที่ยว เนื่องจากกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีโรคประจำตัวและมีสมาชิกในครอบครัวที่มีโรคประจำตัวยังคงมีความกังวลในการเดินทางท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
สุราลัย ว. ., & พิมพาภรณ์ ถ. . (2024). ความกังวลในการเดินทางและความตั้งใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์ความปกติใหม่ ของสถานการณ์โรคระบาดใหม่. Journal of Modern Learning Development, 9(11), 1–18. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/274454
บท
บทความวิจัย

References

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์ และ วีระยุทธ พิมพาภรณ์. (2565). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อดิจิทัล ต่อความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยว ในบทบาทของความเชื่อมั่นในข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 5 (1), 50-60.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บริสุทธิ์ แสนคำ. (2564). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยหลังสถานการณ์โควิด 19. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ. 4 (1), 160-167.

ผู้จัดการออนไลน์. (2024). ฉลองสงกรานต์อย่างเป็นสุข อย่าต้องทุกข์เพราะนำเชื้อโควิด-19 สู่ผู้สูงวัยที่รัก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา https://mgronline.com/onlinesection /detail/9670000032110

พรรณรศา ธีระวงศ์สกุล. (2565). Trending in Travel สถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา https://tatreviewmagazine.com/article/trending-in-travel/.

วิภาดา เถาธรรมพิทักษ์, สิปปวิชญ์ วงศ์สุวัฒน์ และ ศิริกัญญา ทองเส้ง. (2566). พฤติกรรมการท่องเที่ยว ความกังวลในการเดินทางท่องเที่ยว การรับรู้ผ่านการสื่อสารแบบปากต่อปากบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และความตั้งใจเดินทางท่องเที่ยวภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด 19 ของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 18 (1), 56-68.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ttb analytics. (2567). มองรายได้การท่องเที่ยวปี 2567. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา :https://www.ttbbank.com/th/analytics/business-industry/ tourism-healthcare/20240111-ttb-รายได้ท่องเที่ยวปี-2567.

ศุภัตรา ฮวบเจริญ และนันทินี ทองอร. (2565). แนวทางการสร้างความเชื่อมั่นต่อการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตโรคระบาด. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 17 (1), 46-59.

Allen, M. S., Walter, E. E., & Swann, C. (2019). Sedentary behaviour and risk of anxiety: a systematic review and meta-analysis. Journal of Affective Disorders, 242, 5-13.

Beerli, A., & Martin, J. D. (2004). Factors influencing destination image. Annals of tourism research, 31 (3), 657-681.

Gudykunst, W. B., & Hammer, M. R. (1988). The influence of social identity and intimacy of interethnic relationships on uncertainty reduction processes. Human Communication Research, 14 (4), 569–601.

Jang, S., Bai, B., Hu, C. and Wu, C. (2009). “Affect, travel motivation, and travel intention: a senior market”. Journal of Hospitality & Tourism Research, 33 (1), 51-73.

Jovičić Vuković, A., Terzić, A., Gašević, D., Tomašević, D., & Mikulić, J. (2022). Travel intentions in pandemic circumstances – the case of Balkan tourists. Economic Research-Ekonomska Istraživanja, 36 (2).

Luo, J. M., & Lam, C. F. (2020). Travel anxiety, risk attitude and travel intentions towards “travel bubble” destinations in Hong Kong: Effect of the fear of COVID-19. International journal of environmental research and public health, 17 (21), 7859.

Magano, J., Vidal, D. G., Dinis, M. A. P. & Leite, Â. (2021). Validation and psychometric properties of the portuguese version of the coronavirus anxiety scale (CAS) and fear of COVID-19 scale (FCV19S) and associations with travel, tourism and hospitality. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18 (2), 427.

McCartney, G. (2020). The impact of the coronavirus outbreak on Macao. From tourism lockdown to tourism recovery. Current Issues in Tourism, 24 (19), 2683–2692.

McIntyre, N., & Roggenbuck, J. W. (1998). Nature/person transactions during an outdoor adventure experience: A multi-phasic analysis. Journal of Leisure Research, 30 (4), 401-422.

Mindell, J. S., & Curl, A. (2024). Interactions between health and travel behaviour. In Handbook of Travel Behaviour (pp. 389-411). Edward Elgar Publishing.

Nazneen, S., Hong, X. & Ud Din, N. (2020). COVID-19 crises and tourist travel risk perceptions. SSRN Electronic Journal, May (4), 2020.

Qiu, J., Shen, B., Zhao, M., Wang, Z., Xie, B., & Xu, Y. (2020). A nationwide survey of psychological distress among Chinese people in the COVID-19 epidemic: implications and policy recommendations. General psychiatry, 33 (2).

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2 (2), 49–60.

Şengel, Ü., Genç, G., Işkın, M., Çevrimkaya, M., Zengin, B., & Sarıışık, M. (2022). The impact of anxiety levels on destination visit intention in the context of COVID-19: the mediating role of travel intention. Journal of Hospitality and Tourism Insights, 6 (2), 697-715.

World Health Oganization. (2020). Coronavirus disease (Covid-19) pandemic. Advice for the public. Online. Retrieved July 10, 2024. from: https://www.who.int/emergencies /diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public.

Williams, C. C., & Kayaoglu, A. (2020). COVID-19 and undeclared work: Impacts and policy

responses in Europe. The Service Industries Journal, 40 (13-14), 914-931.

Widmar, N. J. O., Dominick, S. R., Ruple, A., & Tyner, W. E. (2017). The influence of health concern on travel plans with focus on the Zika virus in 2016. Preventive medicine reports, 6, 162-170.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Zenker, S. & Kock, F. (2020). The coronavirus pandemic – a critical discussion of a tourism research agenda. Tourism Management, 81, 104164.