ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ที่มีต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สกาวรัตน์ สันฝา
ภาสุดา ภาคาผล

บทคัดย่อ

           การจัดการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทยของโรงเรียนนานาชาติทรีนีตี้ เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีนักเรียนจำนวน 360 คน ปีการศึกษา 2566 โดยมีจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 จำนวน 18 คน และจากการได้ศึกษาทักษะการเขียนการสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยจากการเขียนสะกดคำของนักเรียน เขียนคำในวิชาภาษาไทยไม่ถูกต้อง และเขียนสะกดคำผิด ทำให้นักเรียนไม่สามารถอ่านคำในวิชาภาษาไทยได้  และประเมินผลหลังการสอน มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 คน จากจำนวน 18 คน มีปัญหาในการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง ส่งผลให้นักเรียนเขียนคำไม่ถูกต้อง ทำให้นักเรียน เรียนได้ช้า เกิดผลกระทบต่อการเรียนเป็นอย่างมาก และต้องได้รับการช่วยเหลือและแก้ไขเป็นอย่างมาก
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนานาชาติทรีนีตี้ ปีการศึกษา 2566 จำนวนว 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบวัดทักษะการเขียนสะกดคำ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ dependent sample t-test  
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดมีคุณภาพอยู่ในระดับดี มาก ( = 4.98, S.D. = 0.04) 2) ทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ( = 2.99, S.D. = 0.06)
           สรุปผลการวิจัย ชุดแบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิดที่มีต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นชุดแบบฝึกเสริมทักษะที่ช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำได้ เนื่องจากชุดแบบฝึกเสริมทักษะนี้มีรูปแบบและเนื้อหาคำในมาตราตัวสะกด เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ฝึกการเขียนสะกดคำได้อย่างถูกต้อง

Article Details

How to Cite
สันฝา ส. ., & ภาคาผล ภ. . (2024). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ที่มีต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. Journal of Modern Learning Development, 9(12), 332–356. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/275504
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2545.กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์อักษรไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) ตัวชี้วัดและสาระกาเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประไทยจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิราพร บุดดีอ้วน. (2564). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนประโยคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัวงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จินดา อุ่นทอง. (2558). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการบวกการลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสาทมิตร.

จินตนา ชาญวงษ์สนิท. (2562). การพัฒนาชุดแบบฝึกการเขียนสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม). วารสาร ช่อพระยอม. 31 (1), 77.

ชฎาภรณ์ หาญปรี. (2565). ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยบันไดทักษะ 4 ขั้น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 16 (2), 184-195.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สุวิรียาสาสน์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญใจ ศรีถิตย์นรากูร. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยธิป ไทยเสน. (2564). การพัฒนาการอ่านออกเสียงตัวสะกดตรงตามาตรา โดยใช้เกมร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรังสิต.

เพ็ญลดา ทู้ไพเราะ. (2559). ผลการจดัการเรียนรู้โดยใช้ รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค เพื่อนคคู่คิด (Think-Pair-Share) เรื่องอัตราส่วน และร้อยละที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามรถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธันยพร อุดคำมี. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) ร่วมกับแนวคิดการใช้คำถามสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาอีม๊ะ ราเซะบิง. (2560). การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด ที่มีต่อทักษะปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การใช้โปรแกรม

นำเสนอสำหรับการถ่ายทอดเนื้อหางาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มาลัย พงษ์อนันต์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านและการเขียนสะกดคำพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

มีนา อ่องบางน้อย. (2563). คุณค่าตราสินค้า ความไว้วางใจ และความพึงพอใจ ที่มีผลต่อสิ้นค้า CAT CDMA (แคท ซีดีเอ็มเอ). วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มุทิตา อังคุระษี. (2559). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่องสีและการระบายสี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณทิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เยาวมาลย์ อรัญ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนโดยใช้เทคนิคคิดเดี่ยว-คิดคู่-คิดร่วมกัน (Think-Pair-Share) เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

รัตนะ ไชยยศ. (2558). ผลของการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนย่อความในรูปแผนผังความคิด ที่มีต่อทักษะการเขียนย่อความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนภาษาไทย. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ราตรี พรมบุตร. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับการใช้คำถาม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปกร.

วลี สุมิภันธ์. (2558). การเปรียบเทียบความสามารถในการเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรียนซ่อมเสริมโดยใช้แบบฝึก. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. นนทบุรี. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสาทมิตร.

วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ. ดอกหญ้าวิชาการ.

วิภาวี คำวงษ์. (2563). การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้บริการโรงอาหารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้สู่การศึกษา 4.0. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ.เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุจิต เหมวัล. (2555). ศาสตร์การสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะ. ขอนแก่น. ทรัพย์สมุทรการพิมพ์.

สุณิสา ศรีกัญญานุกูล. (2566). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องประโยคเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองพระพิมลที่สอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้. Journal of Modern Learning Development. 9, (4) 234-243

สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). การพัฒนาผลงานวิชาการ สู่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ.อี เคบุ๊คส์.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม. ประสานการพิมพ์.