การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการปลูกถั่วลิสง กรณีศึกษากลยุทธ์เพิ่มรายได้ของเกษตรกรบ้านโคกแฝก จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ
สุกฤตา บุรินทร์วัฒนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ[1]


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกถั่วลิสงในหมู่บ้านโคกแฝก  จังหวัดนครราชสีมา  รวมถึงการศึกษาจุดคุ้มทุนและประเมินส่วนเกินความปลอดภัยในการลงทุนปลูกถั่วลิสง  โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน  การวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงในพื้นที่จำนวน  20  คน


ผลการวิจัยพบว่าต้นทุนการผลิตทางบัญชีเฉลี่ยอยู่ที่  10,047.20  บาทต่อไร่ต่อปี  ในขณะที่ต้นทุนการผลิตเงินสดเฉลี่ยอยู่ที่  6,603.48  บาทต่อไร่ต่อปี  ความแตกต่างนี้เกิดจากการไม่รวมค่าแรงงานในครัวเรือนและค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ในต้นทุนการผลิตเงินสด  ซึ่งทำให้ต้นทุนทางบัญชีสูงกว่าต้นทุนเงินสดอย่างมีนัยสำคัญ ผลผลิตเฉลี่ยของเกษตรกรอยู่ที่  175.27  กิโลกรัมต่อไร่  โดยมีรายได้จากการขายเฉลี่ยอยู่ที่  17,725  บาทต่อไร่ต่อปี  และกำไรสุทธิโดยวิธีทางบัญชีอยู่ที่  7,290.30  บาทต่อไร่ต่อปี ในขณะที่กำไรสุทธิโดยวิธีกระแสเงินสดอยู่ที่  10,734.03  บาทต่อไร่ต่อปี


การศึกษาจุดคุ้มทุนพบว่า  รายได้ที่จุดคุ้มทุนอยู่ที่  894.73  บาทต่อไร่  โดยมีต้นทุนผันแปรที่  507.13  บาทและต้นทุนคงที่  387.60  บาท  แสดงให้เห็นว่ากิจการมีรายได้สูงกว่าจุดคุ้มทุน  16,830.27  บาท  และมีส่วนเกินที่ปลอดภัย  7,290.30  บาท  สรุปได้ว่าการปลูกถั่วลิสงในพื้นที่ศึกษามีศักยภาพในการทำกำไรสูง  ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญ  ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ต่อการวางแผนการเงิน  การตัดสินใจทางธุรกิจ  และการพัฒนากลยุทธ์การผลิตและการตลาดในอนาคต


 



 

Article Details

How to Cite
อภิสิทธิ์ภิญโญ เ., & บุรินทร์วัฒนา ส. . (2024). การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการปลูกถั่วลิสง กรณีศึกษากลยุทธ์เพิ่มรายได้ของเกษตรกรบ้านโคกแฝก จังหวัดนครราชสีมา. Journal of Modern Learning Development, 9(12), 267–281. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/275780
บท
บทความวิจัย
Author Biography

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

-

References

กรมการปกครอง. (2566). สถิติการบริการด้านการทะเบียนราษฎร ปี 2566 : ประชากรบ้านโคกแฝก ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา (stat_m66 file). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2566 แหล่งที่มา : https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear. php

กฤตวิชญ์ สุขอึ้ง, & ธัญญรัตน์ ไชยปิง. (2564). ต้นทุนและผลตอบแทนของผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอำเภอสองแคว จังหวัดน่าน. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 15(2), 27-37.

จิราพร ประชาโชติ. (2563). ความต้องการการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรังของเกษตรกร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก : มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บัญชา จันทราช, นิธิโรจน์ ศุภกฤษ สุวรรณกุล, ภวิษย์หาญ พะนุมรัมย์, & ศิระเพชร จำเริญสุข. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาความยั่งยืนของเกษตรกรรม แบบผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้าน ไทรงาม ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 8 (1), 123-135.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์ (2023). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถการใช้ดิจิทัลการทำตลาดเชิงรุก ออนไลน์ของกลุ่มผู้ปลูกถั่วลิสง ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. Journal of Social Science and Cultural, 7 (12), 257-266.

Jerry J. Weygandt, Paul D. Kimmel, and Donald E Kieso. (2012). Managerial Accounting, 6th ed. United Sates of America: John Wiley & Sons.