ผลการส่งเสริมศักยภาพทางการเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปี 3 ด้วยกระบวนการกลุ่ม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาการจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้กระบวนการกลุ่ม 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เรียนรายวิชาการจัดกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 50 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ผลการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการการสอนในรูปแบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่ม มีผลการเรียนระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 24.00 ระดับดีมาก ร้อยละ 34.00 และระดับดี ร้อยละ 42.00 และด้านความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการการสอนในรูปแบบร่วมมือ ด้วยกระบวนการกลุ่มแบ่งออกเป็นรายด้านดังนี้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทำให้ส่งเสริมการทำงานร่วมกันอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย = 4.66, SD=0.55 ด้านบรรยากาศการเรียนการสอนทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียน มีค่าเฉลี่ย = 4.64, SD=0.59 ด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ย = 4.56, SD=0.64 และด้านเนื้อหาทำให้จดจำเนื้อหาได้และสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีค่าเฉลี่ย = 4.52, SD=0.57 มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน = 4.60, SD=0.59
Article Details
References
ทาระเนตร์, รักพร ดอกจันทร์ และอภิสิทธิ์ ภคพงศ์พันธุ์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น โดยการจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสา จังหวัดน่าน. ประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ 2560 มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2550). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานทีมและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิภาพร ศรีสุภาพ. (2550). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง พลเมืองดีตามวิธีประชาธิปไตย กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การค้นคว้าอิสระ กศ.ม.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นพเกล้า ศรีมาตย์กุล. (2557). ผลของการใช้เทคนิคการสอนแบบแบ่งกลุ่มย่อยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาในรายวิชา DES111 ทัศนศิลป์ 1 สาขาดิจิทัลอาร์ตส์ คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2545). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : บุ๊คพอยท์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2549). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.
ปียะมาศ ชาติมนตรี. (2550). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบร่วมมือ โดยใช้สวนพฤกษศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พรภัทร สินดี. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงวิธีการที่เน้นกระบวนการกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มเรื่องลำดับและอนุกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2554). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ลักษณสุภา บังบางพลู. (2554). ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้รายวิชาการประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้กระบวนการกลุ่มในการจัดการเรียนการสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2552). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. “กระบวนการกลุ่ม”. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566 จาก http//www.agro.ku.ac.th.
สุริยะ หาญพิชัย. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยกระบวนการกลุ่มในรายวิชากลยุทธ์การวางแผนพัฒนาท้องถิ่นเชิงบูรณาการ. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 9 (1), 15-26
อำนวย เดชชัยศรี, และคณะ. (2539). กระบวนการกลุ่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศาสนา.
Slavin, R.E. (1990). Cooperative Learning: Research and Practice. Englewood Cliffs, NJ:Prentice Hall.