การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลในการวิเคราะห์องค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง กับการเกิดอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทย

Main Article Content

กอฟฟาร์ ลัดเลีย

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาการสร้างตัวแบบหัวข้อสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจร โดยมีการสร้างตัวแบบหัวข้อด้วยวิธีการจัดสรรดีรีเคลแฝง เพื่อเป็นแนวทางในการหาประเด็นสาเหตุที่สำคัญ 2) การวิเคราะห์องค์ประกอบที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการจราจรในประเทศไทยด้วยอัลกอริทึม ถดถอยโลจีสติกเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขป้องกันของภาครัฐตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2565 – 2570 และลดการเกิดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนนในอนาคต โดยการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ของสื่อข่าวอมรินทร์ทีวีจำนวน 2,943 ข่าวสาร
          ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างตัวแบบหัวข้อ    ผู้วิจัยได้ทำการแบ่งประเด็นสาเหตุสำคัญออกเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ (1) องค์ประกอบเชิงบุคคล (2) องค์ประกอบเชิงยานพาหนะ (3) องค์ประกอบเชิงกายภาพ (ถนน/สภาพแวดล้อม และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการจราจรในประเทศไทยพบว่า มีตัวแปรทำนาย 4 ตัว คือ องค์ประกอบเชิงบุคคลร่วมกับเชิงยานพาหนะ, องค์ประกอบเชิงบุคคล, องค์ประกอบเชิงยานพาหนะ และ องค์ประกอบเชิงบุคคลร่วมกับเชิงยานพาหนะร่วมกับเชิงกายภาพ (ถนน/สภาพแวดล้อม) มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตจากการจราจรในประเทศไทย

Article Details

How to Cite
ลัดเลีย ก. (2024). การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ข้อมูลในการวิเคราะห์องค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง กับการเกิดอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทย. Journal of Modern Learning Development, 9(11), 191–202. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/article/view/278826
บท
บทความวิจัย

References

กรมการข่นส่งทางบก. (2564). รายงานการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกประจพปีงบประมาณ 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://web.dlt.go. th/statistics/load_file_select_new_car.php?t=7&tmp=6916.65312105983&data_file=98

วิชญนนท์ เหล่าอุดม. (2567). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางการจราจรในอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 9 (1), 99-106.

ศุภชัย วาสนานนท์ ดลฤดี วาสนานนท์ และนนนน วาสนานนท์. (2564). แนวทางการลดอุบัติเหตุทางรถยนต์จากปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ. วารสารมหาลัยศิลปากร. 41 (5), 86-97.

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. (2565). รายงานแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2565 – 2570. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2567. แหล่งที่มา: https://backofficeminisite. disaster. go.th/apiv1/apps/minisite_roadsafety/192/sitedownload/7377/download?TypeMenu=MainMenu&filename=ae8bb42b9a0f7d84a7879ec8da8a4a36.pdf

สรารัตน์ ฉายพงษ์ และ ภาวิณี เอี่ยมตระกูล. (2564). การศึกษาปัจจัยพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลต่อการ เกิดอุบัติเหตุทางถนน. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย. 15 (3), 30-42.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2566). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.otp. go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2566-11/RoadAccident Ana2565 _final.pdf

World Health Organization. (2565). Global status report on road safety 2018. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.who.int/publications/i/item/978 92415 65684