การศึกษาของคณะสงฆ์ไทยภายใต้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ Education of Thai Sangha under the Sangha Act

Main Article Content

พระมหาเจริญ กตปญฺโญ (กระพิลา)
อุเทน ลาพิงค์
ประทีป พืชทองหลาง

Abstract

บทคัดย่อ


 


          บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์และสังเคราะห์การศึกษาคณะสงฆ์ไทยภายใต้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ โดยผู้ศึกษาใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาจากเอกสารพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทั้งหมด 5 ฉบับ ตั้งแต่พระราชบัญญัติฉบับปี พ.ศ. 2445 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 จนถึงพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562 จากการศึกษาพบว่า บทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาของชาติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ได้ดำเนินการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพียงเพื่ออ่านออกเขียนได้ จึงเป็นหลักสูตรที่ไม่สอดคล้องกับวิวัฒนาการของสังคม แต่หลังจากที่มีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทยพบว่า มีการกำหนดบทบาทและหน้าที่ของเจ้าคณะพระสังฆาธิการ  มีการกำหนดหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาอย่างสามัญทั่วไป จึงทำให้เกิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรม-บาลี และแผนกปริยัติธรรมสามัญศึกษา ซึ่งเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ที่เป็นหลักสูตรเฉพาะ โดยให้มีการจัดการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาควบคู่กันไปกับการศึกษาวิชาสายสามัญ


 


คำสำคัญ:  การศึกษาสงฆ์, คณะสงฆ์ไทย, พระราชบัญญัติคณะสงฆ์


 


 


Abstract


 


          This research paper the goal is to research, analyze, and summarize the Thai Sangha's studies under the Sangha Act. All five documents of the Sangha Act were subjected to a descriptive study by the researcher. From the Sangha Administration Act, R.E. 121, passed in 1902, to the Monk Education Act, B.E. 2562. From the past to the present, the study discovered that vital function in the management of national education. The Dharma study has been organized by the Sangha Act. Solely for the purpose of becoming literate As a result, the path is at odds with the progress of civilization. However, the Sangha Act in the Kingdom of Thailand established the functions and responsibilities of the bishop's clergy. Courses are designed to follow a general education framework. As a result, the Dharma School, both the Dharma-Pali department and the Department of General Education, which is the study of the clergy that is a specific course, were established. By allowing students to learn Buddhist ideas alongside more traditional topics.


 


Keywords: Monastic education, Thai Sangha, Sangha Act

Article Details

Section
Academic Article