การสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพระพุทธศาสนา Creating a peaceful community approach to Buddhism
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
ปัญหาความขัดแย้ง ปัญหาความรุนแรงนับวันจะขยายและกระจายไปทั่วทุกมุมโลกปัจจุบันมาจากปัจจัยหลายอย่าง สาเหตุหนึ่งที่ปรากฏชัดคือการนำเอาศาสนามาเป็นเหตุอ้างความชอบธรรมในการก่อความรุนแรง เช่น ในอินเดียระหว่างอิสลามกับฮินดู ในอิรักความขัดแย้งของอิสลามต่างนิกายคือชีอะห์กับซุนนี ที่ไกล้ตัวที่สุดคือสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทยเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐอันเป็นตัวแทนชาวพุทธกับชาวมุสลิม ดังนั้น การจะลดปัญหาความขัดแย้งความรุนแรงให้น้อยลงได้ ทุกฝ่ายปฏิบัติต้องยึดมั่นในหลักคุณธรรมพื้นฐานเรื่อง “สันติภาพ” “สันติสุข” ตามแนวทางศาสนาของตน หลักการสันติสุขนี้เป็นคำสอนที่โดดเด่นในพระพุทธศาสนา นับตั้งแต่ก่อเกิดพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนให้ชาวโลกยึดมั่นในหลักสันติสุขอย่างมั่นคง ดังพุทธวจนะว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ แปลว่า ไม่มีความสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบสุข จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนา ให้ความสำคัญเรื่องสันติสุขทั้งเชิงปัจเจกบุคคลและเชิงสังคม โดยเฉพาะการสร้างสันติสุขจากภายในสู่ภายนอก อันเป็นความสงบสุขที่ยั่งยืนต่อตนเองและเลื่อนไหลไปสู่สันติสุของค์รวมทางสังคม จนก่อเกิดสันติสุขร่วมในที่สุด บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอแนวทางการสร้างชุมชนสันติสุขตามหลักพระพุทธศาสนา โดยเน้นการสร้างสันติสุขภายในคือจิตใจเป็นพื้นฐานและขยายไปสู่สันติสุขทางสังคมตามลำดับ
คำสำคัญ; ชุมชนสันติสุข, หลักพระพระพุทธศาสนา
Abstract
Currently, the problem of violence is continually spreading all over the world which caused controversy. One of reason, the efforts have been using religion as a tool for legitimacy to create conflicts among groups such as in India between Islam and Hinduism. In Iraq, between Shia and Sunni Muslims, or even in the three southern border provinces of Thailand where there is a conflict between the state and religion or Buddhists and Muslims. In order to minimize conflicts, everyone should practice morality in accordance with the guidelines of their religion. Buddhism itself has a doctrine that focuses on peace. As revealed in the Buddhist proverb “NATTHI SANTI PARAM SUKHAM” which means “no other happiness is greater than tranquility.” Peace in Buddhism is the greatly important to both individuals and societies, especially creating happiness from the inside out which is believed that it will be a useful and lasting peace for oneself and others. Moreover, this will result in the community and society to create peace together. This academic paper uses the study, analysis and synthesis of documents and then write a descriptive description. In addition, this is a presentation of the way to build a peaceful community according to Buddhism, by focusing on creating peace is from within the mind. Buddhism believes that the mind has great power and be able control both physical and verbal actions. Therefore, if a person's body, speech, and mind are at peace then the community or society can be achieved no matter what religion that person is in the world.
Keywords; Peaceful community, Buddhist principles