Home
Submissions
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
บทความวิชาการหรือบทความวิจัยที่ส่งมานี้ ต้องยังไม่เคยถูกตีพิมพ์ หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น ก่อนขอรับการตีพิมพ์ในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์
The submission file is in Microsoft Word (.docx).
บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และงานวิชาการอื่น ๆ ตั้งแต่หัวข้อเรื่องจนถึงเอกสารอ้างอิงควรมีความยาวไม่เกิน 15 หน้า กระดาษ ขนาด A4 และเป็นไปตามรูปแบบการตีพิมพ์ของวารสาร
บทความภาษาไทยใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK ตามตัวอย่างรูปแบบการตีพิมพ์ของวารสาร ส่วนบทความภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร Times New Romance
The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
เตรียมข้อมูล ชื่อ-นามสกุล และสังกัดของผู้แต่งทุกคนในบทความทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ที่ถูกต้อง) รวมทั้ง เบอร์โทรศัพท์ และ E-mail ของผู้แต่งทุกคนที่สามารถติดต่อได้ เพื่อนำไปกรอกในหน้า Submission ตรงส่วนของ Contributors
หลักเกณฑ์สำหรับการนิพนธ์ บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และงานวิชาการอื่นๆ วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
วารสาร “ศรีล้านช้างปริทรรศน์” มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางพระพุทธศาสนา ปรัชญา ศาสนา การศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และผลงานด้านมรดกอีสานอีสานศาสตร์ และเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป ทั้งนี้บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double – blind peer review)
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนพร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนบทความจะได้รับการตีพิมพ์
การเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และงานวิชาการอื่นๆ มีดังนี้
1. ภาษา เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และชื่อบัญญัติตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาอังกฤษในข้อความ ยกเว้นกรณีจำเป็น ให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยวงเล็บภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวเล็กทั้งหมดยกเว้นชื่อเฉพาะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรใหญ่ บทความส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะส่งต้นฉบับ
2. การพิมพ์ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด โดยจัดหน้ากระดาษขนาด A4 ตั้งค่าระยะขอบกระดาษบน 3 เซนติเมตร, ล่าง 2.54 เซนติเมตร, ซ้าย/ขวา 2.54 เซนติเมตร
ชื่อเรื่อง ต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง ภาษาไทยพิมพ์ด้วยรูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 20 พอยต์ และพิมพ์ภาษาอังกฤษ ด้วยรูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 14 พอยต์
ชื่อผู้นิพนธ์ ตำแหน่งทางวิชาการ สาขา คณะ สังกัด/หน่วยงาน และ Email (อีเมล์ใส่เฉพาะผู้นิพนธ์บทความคนที่ 1) ของผู้ร่วมหรือที่ปรึกษาทุกคน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเรียงจากผู้นิพนธ์บทความ1 ผู้ร่วมนิพนธ์2,3,4 ตำแหน่งใต้ชื่อเรื่อง เยื้องชิดฝั่งขวาของหน้ากระดาษ ภาษาไทยพิมพ์ด้วยรูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยต์ และพิมพ์ภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 12 พอยต์
การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย ภาษาไทยพิมพ์ด้วยรูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 18 พอยต์ ตัวหนา และพิมพ์ภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 14 พอยต์ ตัวหนา
เนื้อหา พิมพ์ด้วยรูปแบบตัวอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยต์ ส่วน Abstract พิมพ์ภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาด 12 พอยต์ ระยะห่างของบรรทัด 1.25 พอยต์
3. จำนวนหน้า บทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และงานวิชาการอื่น ๆ ตั้งแต่หัวข้อเรื่องจนถึงเอกสารอ้างอิงควรมีความยาวไม่เกิน 25 หน้า กระดาษ ขนาด A4
4. การใช้ตัวเลข คำย่อ และวงเล็บ ใช้เป็นตัวเลขอารบิกทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centered learning) เป็นต้น
การเรียงลำดับเนื้อหา
บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้
1. บทคัดย่อ (Abstract)
2. บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัย
3. วัตถุประสงค์การวิจัย
4. สมมุติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
5. ระเบียบวิธีวิจัย
6. ผลการวิจัย/ผลการทดลอง
7. อภิปรายผล/วิจารณ์
8. ข้อเสนอแนะ
9. องค์ความรู้ที่ได้
10. เอกสารอ้างอิง (References)
Template บทความวิจัย
บทความพิเศษ บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ ปกิณกะ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้
1. บทคัดย่อ (Abstract)
2. บทนำ (Introduction)
3. เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ
4. บทสรุป (Conclusion)
5. องค์ความรู้ที่ได้
6. เอกสารอ้างอิง (References)
Template บทความวิชาการ
บทความวิจารณ์หนังสือ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้
1. บทนำ (Introduction)
2. เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ
3. บทวิจารณ์
4. คุณค่าของหนังสือ
5. เอกสารอ้างอิง (References)
การส่งต้นฉบับ
1. ผู้เขียนส่งไฟล์บทความไปยังระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์
2. กองบรรณาธิการดำเนินการตรวจสอบหัวข้อ บทคัดย่อ และเนื้อหาของบทความ รูปแบบการจัดพิมพ์บทความ ประเด็นทางจริยธรรม ตรวจการคัดลอกบทความ (Plagiarism Checker) และความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร รวมถึงประโยชน์ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ ในเบื้องต้น และแจ้งตอบกลับให้ผู้เขียนทราบ พร้อมแจ้งให้ชำระค่าทำเนียมขอตีพิมพ์บทความตามอัตราที่กำหนดไว้ และเมื่อชำระค่าทำเนียมขอตีพิมพ์บทความ ถ้าไม่ต้องแก้ไขเบื้องต้นจะนำส่งต่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิอ่าน
3. ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะดำเนินการจัดส่งบทความเพื่อทำการกลั่นกรองต่อไปโดย ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความ ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ กระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้เป็นการประเมินแบบปกปิดสองทาง (Double blind review) กล่าวคือ จะไม่เปิดเผยชื่อผู้ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิทราบ และจะไม่เปิดเผยชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนทราบ และกองบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยทั้งชื่อผู้เขียนและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้บุคคลอื่น ทราบด้วยเช่นกัน
4. เมื่อได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้วกองบรรณาธิการจะส่งข้อคิดเห็น พร้อมทั้งต้นฉบับให้ผู้เขียนปรับปรุงแก้ไข และส่งกลับภายในวันที่กำหนด
ขอบเขตการตีพิมพ์
วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ เปิดรับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ โดยประกอบไปด้วยสาขาวิชาพุทธศาสนา ศาสนาต่างๆ ปรัชญา วัฒนธรรม ภาษา การศึกษา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ตลอดทั้งสาขาวิชาอื่นๆ ที่บูรณาการด้วยหลักคำสอนในพุทธศาสนา
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น