THE ADMINISTRATION BASED ON THREEFOLD LEARNING OF SCHOOL ADMINISTRRATORS UDER THE LOEI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา (2) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร คือ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 143 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .958 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักวิชาการ จำนวน 5 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและหาข้อสรุปสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
- การศึกษาสภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า สภาพการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมทุกข้ออยู่ในระดับมาก
- กรศึกษาการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า การบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- แนวทางในการพัฒนาการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 ด้านศีล ผู้บริหารควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิต ด้านสมาธิ ผู้บริหารควรสร้างแรงจูงในการทำงาน ด้านปัญญา ผู้บริหารควรสนับสนุนบุคลากรพัฒนาตนเอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. มาตรา 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.),.
ทิพยาพัศ คลังแสง. (2556). การบริหารงานตามหลักพรหมวิหาร 4 ของผู้อำนวยการสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฐพร นาคสุวรรณ และ ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2564). การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. (Journal of Roi Kaensarn Academi 6(2) (กุมภาพันธ์ 2564), หน้า 167.
บุญชม ศรีสะอาด. (2555). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น จำกัด.
พระมหาอานนท์ อานนฺโท (ศรีชาติ). (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนทวีวัฒนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระอธิการสกายแลบ ธมฺมธโร (นามโท). (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักไตรสิกขา ในสถานศึกษาขั้นนฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. เลย: กลุ่มนโยบายและแผน.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.