การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

Main Article Content

นวอร เมียนแก้ว
เกศริน มนูญผล
สรัญญา แสงอัมพร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3  2) เพื่อเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ตามความคิดเห็นของครู จําแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน  3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3  ประชากร ได้แก่ ครูปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ทั้งหมด จำนวน 1,602 คน จาก  223  โรงเรียน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที  (t-test)  ค่าเอฟ (f - test)


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 3 โดยรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านปริสัญญุตา คือ รู้จักชุมชน รองลงมาคือ ด้านกาลัญญุตา คือ รู้จักกาล และด้านอัตตัญญุตา คือ รู้จักตน และด้านมัตตัญญุตา คือ รู้จักประมาณ ตามลำดับ

  2. ผลการเปรียบเทียบการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และพบว่า ด้านอัตถัญญุตา (รู้จักผล) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

            3. ผลการศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้ครูปฏิบัติตามระเบียบวินัยได้วางกฎระเบียบให้ครูปฏิบัติงานในสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสม ยกย่องชมเชยครูที่ปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ เพื่อกระตุ้นการทำงานให้เจริญก้าวหน้า

Article Details

How to Cite
เมียนแก้ว น., มนูญผล เ., & แสงอัมพร ส. (2023). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 9(1), 43–58. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jslc/article/view/260495
บท
บทความวิจัย

References

จักรวาล สุขไมตรี. (2560). ความรู้เบื้องต้นการบริหารรัฐกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: j. Prin.

ชลธิชา ดังสะท้าน. (2559). การบริหารงานตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาล นครศรีธรรมราช. สารนิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธงชัย เจริญนนท์. (2550) การนำหลักสัปปุริสธรรมไปใช้ในการพัฒนาชุมชน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการวิจัย. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระครูปลัดศุภชัย ปริชาโน (ฉัตรคู่). (2563). นวัตกรรมที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านสภาพแวดล้อม สำหรับนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 7(3). กันยายน-ธันวาคม 2563.

พระครูสันติธรรมมารัต (บุญชัย สนฺติกโร). (2557). การพัฒนารูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 15. วิทยานิพนธ์ พธ.ด. (การจัดการเชิงพุทธ). อยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระปภังกร อภิชวโน. (2559). การบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักพรหมวิหารธรรมของพระสังฆาธิการ ในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ร.ม. (รัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระมหากฤษดา เขมจิตฺโต. (2559). บทบาทการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการตามทัศนคติของพระสงฆ์ เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ร.ม. (รัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน. (2559). ระบบการส่งเสริมดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษาตามหลักพุทธธรรมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ พธ.ม. (พุทธบริหารการศึกษา). อยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระศตวรรษ กิตฺติปาโล. (2562). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการส่งเสริมการปกครองของพระสังฆาธิการในเขตจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ร.ม. (การปกครอง). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระสมเกียรติ ปญฺาวุโธ. (2557). สภาพการปกครองคณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอทุ่งใหญ่ นครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ ร.ม. (รัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระสุรนาท ญฺาณสมฺปฺนโน. (2559). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ร.ม. (รัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระสุวรรณภูมิ ธมฺมรโต (อินทร์รัมย์). (2561). ระบบการบริหารงานบุคคลตามหลักพุทธบริหารการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ พธ.ด. (พุทธบริหารการศึกษา). อยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค

เสน่ห์ บุญกำเนิด. (2564). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการบริหารงานของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(12). ธันวาคม 2564