กลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาใน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ สถานศึกษาต้องการทรัพยากรทางศึกษาที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษานั้น ๆ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษา กลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โคยมี วัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็นของการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 2) กำหนดกลยุทธ์การระดมทรัพยากร ทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินกลยุทธ์ การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา วิธีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 319 คนประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 24 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 295 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Krejcie & Morgan) และวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ขั้นตอนที่ 2 การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 3 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่ 2 กำหนดกลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยการสนทนากลุ่ม กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสนทนากลุ่ม และ ระยะที่ 3 การประเมินกลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษา โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสภาพปัจจุบันกลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.29, S.D. = 0.97) ระดับสภาพที่พึงประสงค์กลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.64, S.D. = 0.85) ลำดับความต้องการจำเป็น PNIModified ของกลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษารายด้าน ได้แก่ ลำดับที่ 1 ด้านเงินทุนหรืองบประมาณมีค่า (PNIModified = 0.30) ลำดับที่ 2 ด้านทรัพยากรบุคคลมีค่า (PNIModified = 0.27) ลำดับที่ 3 ด้านที่ดินและสิ่งก่อสร้างมีค่า (PNIModified = 0.23) ลำดับที่ 4 ด้านวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีมีค่า (PNIModified = 0.21) ลำดับที่ 5 ด้านแหล่งเรียนรู้มีค่า (PNIModified = 0.16) 2. กลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ประกอบด้วย 1)วัตถุประสงค์ในการระดมทรัพยากร ทางการศึกษา 5 ด้าน 2)กลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษา 15 กลยุทธ์ 3)วิธีดำเนินการ/มาตรการ 38 มาตรการ 4)ตัวชี้วัดความสำเร็จ 38 ตัวชี้วัด 3. ผลการประเมินกลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษา ของผู้บริหารสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 1) ด้านความเป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 (x̅ = 4.84, S.D. =0.36) รองลงมาได้แก่ 2) ด้านความเหมาะสม (x̅ = 4.76, S.D. =0.47) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ 3) ความเป็นไปได้ (x̅ = 4.72, S.D. =0.49)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
กนกพร แสนสุขสม สุกัญญา แช่มช้อย และ ธีรภัทร กุโลภาส (2562). องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความมีชื่อเสียงขององค์การ ที่ส่งผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษา, ใน วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. 13(3). กรกฏาคม – กันยายน. 55 - 69.
จันทิมา อัชชะสวัสดิ์. (2558). การระดมทรัพยากรเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา. สุทธิปริทัศน์. 9(90). เมษายน -มิถุนายน. 43 - 58.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. นนทบุรี: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2562). การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา. วารสารวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 33(10). เมษายน -มิถุนายน. 1 - 13.
พิสิษฐ ภู่รอด. (2559). รูปแบบการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนดีเด่นขนาดเล็กของรัฐ. ชลบุลี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภานุมาศ เฉลยนาค (2557). การนำเสนอกลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 4(3). กันยายน - ธันวาคม 213 - 224.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2563). กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563. แหล่งสืบค้น https://th.wikipedia.org/wiki/กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์
วีรพงษ์ ไชยหงส์. (2558). การจัดการเชิงกลยุทธ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2563. แหล่งสืบค้น: http://drweerapong.blogspot.com/2015/02/blog-post_42.html
สุชาติ บางวิเศษ และศักดินาภรณ์ นันที. (2560). ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 6(21). ตุลาคม-ธันวาคม 2560.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คํานิยาม โรงเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2563. แหล่งสืบค้น http://www.bopp-obec.info/home/wp-content/uploads/2012/03/ definition.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564).กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 – 2579) . กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพฯ : สํานักนายกรัฐมนตรี
องอาจ นัยพัฒน์. (2561). การวิจัยสถาบัน: เครื่องมือพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.