หลักธรรมทางพุทธศาสนาในประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ พ.ศ. 2529 ว่าด้วยอุดมการณ์ของผู้พิพากษาและจริยธรรมการปฏิบัติหน้าที่ในทางอรรถคดี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ พุทธศักราช 2529 เป็นข้อบัญญัติทางมาตรฐานจริยธรรม
ซึ่งบังคับใช้กับผู้พิพากษาและตุลาการที่กำหนดให้ผู้พิพากษามีอุดมการณ์ในการประสาทความยุติธรรมแก่ผู้มีอรรถคดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งกำหนดจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาทางอรรถคดีให้วางตนเป็นกลางและปราศจากอคติทั้งปวง ซึ่งข้อบัญญัติดังกล่าวมีความแน่นแฟ้นกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งมาช้านาน โดยมีหลักธรรมที่สำคัญ ได้แก่ หลักอกุศลมูล 3 คือ โลภ โกรธ และหลง เพื่อธำรงไว้ซึ่งความซื่อสัตย์สุจริต หลักอคติ 4 คือ ลำเอียงเพราะรัก โกรธ กลัว และเขลา เพื่อกุมใจให้ปราศจากอคติ
หลักพรหมวิหาร 4 ในข้อที่ว่าด้วยการวางใจเป็นกลางไม่เอนเอียง เพื่อวางตนเป็นกลางเมื่อปฏิบัติหน้าที่ นอกจากนั้น หลักธรรมดังกล่าวยังสะท้อนผ่านบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แสดงตนอยู่ในหลักนิติธรรม และเป็นแก่นสำคัญของหลักวิชาชีพนักกฎหมายอีกด้วย อันเป็นการยืนยันว่าหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนานั้น
มีความเป็นสากล ไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา สถานที่ หรือหมู่ชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและเผยแผ่ในวารสารฉบับนี้ เป็นทัศนคติและข้อคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะคติและความรับผิดชอบ
ของบรรณาธิการ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ ก่อนเท่านั้น
References
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2558). หนังสือรวมบทความวิชาการ เนื่องในโอกาส 60 ปี
รองศาสตราจารย์สุดา วิศริตพิชญ์. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
คณะอนุกรรมการวิชาการว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติและคณะอนุกรรมการบรรณาธิการหนังสือหลักนิติธรรมในคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ. (2558). หลักนิติธรรม The Rule of Law ความหมาย สาระสำคัญ และผลของการฝ่าฝืนหลักนิติธรรม. กรุงเทพฯ: พี เอส พริ้นติ้ง แอนด์ ดีไซน์.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2558). หลักวิชาชีพนักกฎหมาย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ดิเรก ควรสมาคม. (2557). นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
พิศวาท สุคนธพันธุ์. (บ.ก.). (2536). หนังสือรวมบทความวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 84 ปี
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พุทธทาสภิกขุ. (2549). การงานคือการปฏิบัติธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9, ราชบัณฑิต). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพ: เลี่ยงเชียง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท). (2532). สมาธิภาวนา. กรุงเทพฯ: กลุ่มศึกษาและปฏิบัติธรรม.
สมลักษณ์ จัดกระบวนพล. (2558). ข้าแต่ศาลที่เคารพ. กรุงเทพฯ: มติชน.
สำนักงานส่งเสริมตุลาการ กระทรวงยุติธรรม. (2529). ประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม.
สุนทรียา เหมือนพะวงศ์. (บ.ก.). (2563). ผู้พิพากษาที่ดี: A Good Judge. นนทบุรี: ภาพพิมพ์.
เสนีย์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2559). กฎหมายสมัยอยุธยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.