แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียน ยุคปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

Main Article Content

ชญานี แก้วกัลยา
ศักดินาภรณ์ นันที
สุชาติ บางวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนยุคปกติใหม่ 2) สร้างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนยุคปกติใหม่ และ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนยุคปกติใหม่ โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 323 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และระยะที่ 3 ผสมวิธี ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินแนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนยุคปกติใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.06, S.D. = 0.69) สภาพที่พึงประสงค์ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.84, S.D. = 0.37) และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนยุคปกติใหม่ ลำดับแรก คือ ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (PNIModified = 0.22) 2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนยุคปกติใหม่ ประกอบด้วย 5 แนวทาง 15 แนวปฏิบัติการพัฒนา และ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียนยุคปกติใหม่ในด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.69) ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.55) และด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.93)

Article Details

How to Cite
แก้วกัลยา ช., นนที ศ., & บางวิเศษ ส. (2024). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานกิจการนักเรียน ยุคปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 10(2), 1–15. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jslc/article/view/280463
บท
บทความวิจัย

References

กัมปนาท อาทิตย์ตั้ง, สาธร ทรัพย์รวงทองและทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2565). แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(2), 100-112.

กัลยาณี รัตนบุตร, ฉลอง ชาตรูประชีวินและสถิรพร เชาวน์ชัย. (2566). รูปแบบการบริหารระบบคุณภาพงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(2), 483-494.

ชลิต สมศรีและมัทนา วังถนอมศักดิ์. (2567). ทักษะผู้บริหารกับการดำเนินงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์, 7(1), 111-121.

ณฐพัฒน์ ถุงพลอย. (2564). การพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 49-61.

ทัศนา ประดับนาคและอภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์. (2566). ภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 20(39), 21-34.

ทินกร เผ่ากันทะและกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์. (2565). แนวทางการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.), 4(2), 37-45.

นิศาชล นามสาย. (2563). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 8(30), 239-246.

ยุทธนา เลิศคลังและขัตติยา ด้วงสำราญ. (2566). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 11(1), 84-103.

วชิรวิทย์ สุราสาและเอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). ผู้บริหารที่นำสถานศึกษาสู่ความสำเร็จ บนวิถีแห่งความเปลี่ยนแปลง. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(2), 186-201.

วิลาวัลย์ ปาลี. (2561). การพัฒนารูปแบบระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

วุฒิชัย เหล่าสียงและทรงลักษณ์ สกุลวิจิตร์สินธุ. (2566). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานส่งเสริมบริหารกิจการนักเรียน โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 16(1), 1-18.

ศุภมาส ภาสุระ. (2561). การศึกษาระดับสมรรถนะภาวะผู้นําแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED) , 13(3), 377-387.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, Vol.30, 607-610.