ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของ ผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, หลักธรรมาภิบาล, อาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา 2) ระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา และ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครู
สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 จำนวน 205 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน กระจายตามประเภทสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยมีค่าความตรงด้านเนื้อหา เท่ากับ
0.67 - 1.00 มีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.98 และด้านการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย การกระตุ้นทางปัญญา การสร้างแรงบันดาลใจ การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ และการคำนึงถึงการเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ
2. ระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ความรับผิดชอบทางการบริหาร ค่านิยมประชาธิปไตย การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ และประชารัฐ ตามลำดับ
3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย การคำนึงถึงการเป็นปัจเจกบุคคล (X4) การมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ (X1) และการกระตุ้นทางปัญญา (X3) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา (Ytot) โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 84.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สมการวิเคราะห์การถดถอยคือ tot = 0.60 + 0.33 (X4) + 0.28 (X1) + 0.26 (X3)
References
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์.
ดารินทร์ สงมะเริง (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษาศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
ธุมากร เจดีย์คำ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 (2546, ตุลาคม 9) ราชกิจจานุเบกษา, 120 (100 ก.), 4
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2546). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
พิษณุ ยงดี. (2559). ธรรมาภิบาลของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง. ค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ละออ จันทร์ชุม. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วรรณา ทองแบน และพงษ์เทพ จันทสุวรรณ. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาองค์การบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.
วรลักษณ์ วรรณกูล. (2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ค้นคว้าอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยาสถาบันพระปกเกล้า. (2558). ดุลอำนาจในการเมืองการปกครอง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า
สมพงค์ จินา. (2560). องค์ประกอบภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนบน. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2551- พ.ศ.2555) ออนไลน์. แหล่งที่มา: http://psdg.vec.go.th/Portals/5/doc/strategies_new2_2.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. (2560-2579). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
เสน่ย์ จุ้ยโต. (2557). มิติใหม่การบริหารธรรมาภิบาลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Bass, B. M., and Avolio, B. J. (1994). Improving Organizational Effectiveness Through Transformational Leadership. Newbery Park, CA : Sage.
Oke, Adegoke., Munshi, Natasha. & Walumbwa, Fred O. (2009). “The Influence of Leadership on Innovation Processes and Activities”. Organizational Dynamics, 38(1), pp. 64-72.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว