แนวทางการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • เจษฎา เขียวฉอ้อน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พรเทพ รู้แผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การบริหารโครงการ, โครงการอาหารกลางวัน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทองและเพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง วิธีการดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 80 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เก็บรวบรวมเชิงคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน สะท้อนให้เห็นถึงสภาพการบริหารโครงการอาหารกลางวันแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และในส่วนของปัญหาจากการปฏิบัติ อยู่ในระดับ น้อยที่สุด และแนวทางการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง มี 5 ขั้นตอนมี 26 แนวทาง ประกอบด้วย ขั้นตอนการริเริ่มโครงการ มี 5 แนวทาง เช่น นำปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิทยากร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ระเบียบ ข้อกฎหมายและกำหนดบทบาทให้ชัดเจน ขั้นตอนการวางแผน มี 5 แนวทาง เช่น มีคณะครูในโรงเรียน นักเรียน และชุมชน ร่วมกำหนดรูปแบบการจัดการโครงการอาหารกลางวัน และจัดทำเป็นร่างโครงการ ขั้นตอนการปฏิบัติ มี 5 แนวทาง เช่น มีตัวแทนชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิษย์เก่า เข้ามาร่วมกำหนดกรอบของการทำงาน และร่วมกันดำเนินการสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันให้มีคุณภาพมากขึ้น  ขั้นตอนการตรวจสอบและควบคุม มี 5 แนวทาง เช่น มีตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนนักเรียนและตัวแทนชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการนิเทศ กำหนดตารางการนิเทศ และวิธีการที่หลากหลายรูปแบบ ขั้นตอนการปิดโครงการมี 6 แนวทาง เช่น นำผลการดำเนินงานจัดกิจกรรม Best Practice เพื่อยกย่อง ชมเชย โรงเรียนที่มีผลปฏิบัติโครงการอาหารกลางวันที่เป็นเลิศ หาโรงเรียนนำร่อง และประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมที่ดีในด้านการบริหารบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

References

กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. (2559). สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการสำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ลาดพร้าว: โรงพิมพ์ สกสค.

ชนก แสนติยศ. (2557). การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ,หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ณัฐวรรณ ตรวจนอก. (2557). การศึกษาการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ทัศนะ ศรีปัตตา. (2564). สภาพและปัญหาการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไพฑูรย์ มูลด้วง. (2551). การพัฒนาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนวัดสระทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 4. บุรีรัมย์. ม.ป.ท.

ศิริศักดิ์ สุนทรไชย. (2558). การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3. วารสารวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

ศิริศักดิ์ สุนทรไชย และคณะ. (2551). สถานภาพการจัดการโครงการอาหารกกลางวันโรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี : กรณีศึกษา 2 โรงเรียนในอำเภอบางกรวย. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 21(1): 5-20.

สุนทร วรรณรักษ์. (2551). การประเมินโครงการอาหารกลางวันหลวงพ่อคูณปริสทฺโธฬนโรงเรียนบ้านโป่งกระสังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 5 ตามแบบการประเมิน ซิโป.

ชนก แสนติยศ. (2558). การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่พิเศษสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3. วารสารวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2559). บูรณาการด้านพัฒนาสุขภาพกลุ่มวัยเรียน 2557. กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. ลาดพร้าว: โรงพิมพ์ สกสค.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-30