การใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในวรรณกรรมผู้หญิงสมัยใหม่ กรณีศึกษาเรื่อง คำสารภาพของสาวนักช้อปฯ (The Secret Dreamworld of a Shopaholic) และนางร้ายไฮโซ (Lipstick Jungle)

Main Article Content

พิมชนก พึ่งบุญ ณ อยุธยา
จิรันธรา ศรีอุทัย

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษารูปแบบการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษและประเมินกลวิธีดังกล่าวที่ผู้แปลวรรณกรรมผู้หญิงสมัยใหม่ใช้ในงานแปล ผลการวิจัยพบว่า มีรูปแบบการใช้คำทับศัพท์ในวรรณกรรมผู้หญิงสมัยใหม่ 3 รูปแบบหลัก คือ (1) การใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยไม่มีคำไทยประกอบ (2) การใช้คำทับศัพท์พร้อมกับคำไทยประกอบ และ (3) การใช้ภาษาอังกฤษทั้งข้อความ โดยพบการใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษโดยไม่มีคำไทยประกอบมากที่สุด ทั้งนี้ มีคำทับศัพท์ร้อยละ 40.19 ของคำทับศัพท์ทั้งหมดที่พบในวรรณกรรมผู้หญิงสมัยใหม่ที่นำมาเป็นกรณีศึกษาเป็นคำที่รวมอยู่ในพจนานุกรมฉบับมติชน จึงนับเป็นการใช้คำทับศัพท์ที่น่าจะยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม คำทับศัพท์อีกเกือบร้อยละ 60 อาจยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของผู้อ่านภาษาไทยในวงกว้าง คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีปัญหาเหล่านี้แบ่งได้เป็น คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ควรแก้ไขเนื่องจากปัญหาทางด้านเสียง ความหมาย และการสลับตำแหน่งคำ และคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ทั้งๆ ที่มีคำภาษาไทยอยู่แล้ว

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

พิมชนก พึ่งบุญ ณ อยุธยา

พิมชนก พึ่งบุญ ณ อยุธยาสำเร็จการศึกษาปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2547 จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันเป็นนักเขียนประจำนิตยสารกูรู ในเครือหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

จิรันธรา ศรีอุทัย

จิรันธรา ศรีอุทัยสำเร็จการศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2550 จากคณะภาษาสมัยกลางและสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

กฤษณา จิตต์อารี. “การเปลี่ยนแปลงความหมายของคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน.” สารนิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปล คณะอักษร-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

แคนเดซ บุชเนลล์. นางร้ายไฮโซ. แปลโดย โสภาพรรณ รัตนัย. กรุงเทพฯ: นกฮูก พับลิชชิ่ง, 2551.

โซฟี คินเซลลา. คำสารภาพของสาวนักช้อปฯ. แปลโดย พลอย จริยะเวช. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: บลิส พับลิชชิ่ง, 2552.

บรรจบ พันธุเมธา. ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2532.

พัชรี โภคาสัมฤทธิ์. “การแปลคำยืม: ชนิดและปัจจัยทางภาษาศาสตร์และภาษาศาสตร์สังคม.” ภาษาและวัฒนธรรม วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่ 29 (2550) ฉบับพิเศษ: 92-117.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์, 2546.

---. ศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2549.

---. หลักเกณฑ์การทับศัพท์ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ ภาษามลายู ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2535.

วรรณา แสงอร่ามเรือง. ทฤษฎีและหลักการแปล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. พิมพ์.

วัลยา วิวัฒน์ศร. การแปลวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษร-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.

วัฒนา อุดมวงศ์. “คำยืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหา-บัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.

วิทยากร เชียงกูล. อธิบายศัพท์ใหม่เพื่อเข้าใจโลกยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สายธาร, 2547.

สว่าง วงศ์พัวพันธุ์. พจนานุกรมดวงกมล ฝรั่งเศส-ไทย. กรุงเทพฯ: ดวงกมล, 2527.

สำนักพจนานุกรมมติชน. พจนานุกรมฉบับมติชน. กรุงเทพฯ: มติชน, 2547. พิมพ์.

สุนันท์ อัญชลีนุกูล. ระบบคำภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษร-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.

อนันต์ ทรงวิทยา และเนาวรัตน์ ทรงวิทยา. ไทย 104 ลักษณะภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2524.

Baker, Mona. In Other Words: A Coursebook on Translation. London: Routledge, 2003.

Bushnell, Candace. Lipstick Jungle. London: Abacus, 2006.

Kinsella, Sophie. A Secret Dreamworld of a Shopaholic. Reading: Black Swan, 2000.

Newmark, Peter. A Textbook of Translation. New York: Prentice Hall, 1998.

Smith, Caroline J. Cosmopolitan Culture and Consumerism in Chick Lit. New York: Routledge, 2008.