การศึกษากลวิธีสื่อมโนทัศน์กรรมวาจกในการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษา: เวลาในขวดแก้ว และ ความรักของวัลยา

Main Article Content

ดลพร รุจิรวงศ์
ปรีมา มัลลิกะมาส

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากลวิธีสื่อมโนทัศน์กรรมวาจกในการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยศึกษาจากงานวรรณกรรมไทยซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษ 2 เล่ม คือ เวลาในขวดแก้ว (Time in a Bottle) แปลโดย Pongdeit Jiangphatthanarkit และ ความรักของวัลยา (Wanlaya’s Love) แปลโดย Marcel Barang ผู้วิจัยใช้คลังข้อมูลเทียบบทในการเก็บข้อมูลทั้ง 2 ภาษา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ โปรแกรมที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลคือ ParaConc ซึ่งเป็นโปรแกรม Concordance ที่ใช้กับคลังข้อมูลเทียบบทโดยเฉพาะ ผู้วิจัยเริ่มด้วยการสืบค้นประโยคกรรมในภาษาอังกฤษซึ่งสื่อมโนทัศน์กรรมวาจก จากนั้นจึงนำคู่ประโยคภาษาไทยซึ่งเป็นต้นฉบับของประโยคกรรมในภาษาอังกฤษมาศึกษาเปรียบเทียบว่าต้นฉบับและฉบับแปลทั้ง 2 ภาษามีความเท่าเทียมกันในแง่ของการสื่อมโนทัศน์กรรมวาจกหรือไม่

ผลการวิจัยพบประโยคแปลภาษาอังกฤษที่สื่อมโนทัศน์กรรมวาจกพร้อมคู่ประโยคภาษาไทยรวม 384 คู่ และสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มประโยคที่มีสมมูลภาพในการสื่อมโนทัศน์กรรมวาจกรวม 168 ประโยค และกลุ่มที่ไม่มีสมมูลภาพในการสื่อมโนทัศน์กรรมวาจกรวม 216 ประโยค ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลให้ประโยคกลุ่มหลังไม่มีสมมูลภาพในการสื่อมโนทัศน์กรรมวาจกเทียบเท่าต้นฉบับมี 5 ประการ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านการเน้นหน่วยกรรม 2) ปัจจัยด้านผู้แปล 3) ปัจจัยด้านบริบท 4) ปัจจัยด้านประธาน และ 5) ปัจจัยด้านกริยา

Article Details

Section
Articles
Author Biographies

ดลพร รุจิรวงศ์

ดลพร  รุจิวงศ์ ได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) และปริญญาอักษรศาสตร มหาบัณฑิต (การแปล) จาก คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรีมา มัลลิกะมาส

ปรีมา  มัลลิกะมาส ได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทด้านภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

จินดา งามสุทธิ. (2524). ภาษาศาสตร์ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

นพพร ประชากุล. (2540). ศาสตร์การแปล : รวมบทความเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพ ฯ: โครงการศูนย์การแปล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประภัสสร เสวิกุล. (2534). เวลาในขวดแก้ว. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

ปฤณา มโนมัยวิบูลย์. (2547). การหลีกเลี่ยงประโยคกรรม “ถูก” ในเรื่องแฮร์รี่ พอตเตอร์ ฉบับภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพียรศิริ วงศ์วิภานนท์. (2534). รายงานการวิจัยการวิเคราะห์โครงสร้างความในภาษาไทย : ข้อเขียนประเภทแสดงความคิดเห็นในสาขามนุษยศาสตร์. โครงการวิจัยด้วยทุนสนับสนุนการวิจัยรัชดาภิเษกสมโภชน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัลยา วิวัฒน์ศร. (2547). การแปลวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ อรุณมานะกุล. (2545). ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริมา ภิญโญสินวัฒน์. (2533). หน่วยสร้างภาษาไทยที่เทียบเท่ากับหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษในข่าวต่างประเทศผ่านดาวเทียม. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสนีย์ เสาวพงศ์. (2517). ความรักของวัลยา. กรุงเทพฯ: สารสยาม.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2549). หน่วยสร้างกรรมวาจก. ใน อมรา ประสิทธิรัฐสินธุ์, บรรณาธิการ, หน่วยสร้างที่มีข้อขัดแย้งในไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุไร งามสม. (2527). การวิเคราะห์คุณสมบัติทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ของคำกริยา มี ในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (2524). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

Baker, M. (1998). Routledge encyclopedia translation studies. Newyork: Rouledge.

Barang, M. (1996). Wanlaya’s love. Bangkok: Thai Modern Classics.

Delisle, J. (1989). Translation: An interpretive approach. (Patricia Logan & Monica Creery, Trans.). Ottawa: University of Ottawa Press.

Jiangphatthanarkit P. (1996). Time in a bottle. Bangkok: Thai Modern Classics.

Keenan, E. (1990). Passive in the world’s languages. In T. Shopen, (Ed.), Language and typology and syntactic description – clause structure. Cambridge: Cambridge University Press.

Larson, Mildred L. (1984). Meaning-based translation: A guide to cross-language equivalence. Lanham: University Press of America.

Macmillan english dictionary for advanced learners. (2002). Oxford: Macmillan Education.

Prasithrathsint, A. (1983). The Thai equivalents of the English passives in formal writing: A case study of the influence of translation on the target language. Working papers in linguistics 15, 1. University of Hawaii at Manoa, Honolulu.

---. (1985). Change in the passive constructions in written Thai during the Bangkok period. Ph.D. dissertation, University of Hawaii.

---. (1988). Change in the passive constructions in standard Thai from 1802-1982. Language sciences 10(2), 363-393.

---. (2001). The establishment of the neutral passive and the persistence of the adversative passive in Thai. MANUSYA, Journal of humanities, 4(2), 77-78.

---. (2006). The development of /thuuk/ as a passive marker in Thai. In Werner Abraham & Leisio Larisa, (Eds.), Passivization and typology. Amsterdam: John Benjamins.

Siewierska, A. (1984). The passive: A comparaticve linguistic analysis. London: Croom Helm Ltd.,.

Verspoor M. & Sauter, K. (2000). English sentence analysis. Philadelphia: John Benjamins.