การพัฒนาอรรถาภิธานสารสนเทศศาสตร์ด้านการบริการสารสนเทศ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอรรถาภิธานสารสนเทศศาสตร์ด้านการบริการสารสนเทศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตำราภาษาไทยจำนวน 210 ชื่อเรื่อง บทความทางวิชาการภาษาไทย จำนวน 225 บทความ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548-2560 และหนังสืออ้างอิงภาษาไทยจำนวน 5 ชื่อเรื่อง และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกที่ร่วมพิจารณาตรวจอรรถาภิธาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในการรวบรวมคำศัพท์ และการสนทนากลุ่มซึ่งครอบคลุมประเด็นหลักๆ คือ การคัดเลือกคำศัพท์ที่สอดคล้องและครอบคลุมขอบเขตเนื้อหาด้านการบริการสารสนเทศ ความถูกต้องของการวิเคราะห์คำศัพท์ และการจัดลำดับชั้นคำศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกข้อมูลมาวิเคราะห์หาความถี่โดยการนับจำนวนของคำศัพท์ที่ปรากฏในแต่ละความสัมพันธ์ (USE, UF, BT, NT, RT ฯลฯ)
ผลการวิจัยพบว่า มีคำศัพท์ที่ปรากฏในแต่ละความสัมพันธ์ รวมทั้งสิ้น 579 คำ จำแนกเป็นศัพท์หลัก จำนวน 112 คำ คำศัพท์ที่มีความหมายกว้างกว่าศัพท์หลัก (Broader Term - BT) จำนวน 68 คำ คำศัพท์ที่มีความหมายแคบกว่าศัพท์หลัก (Narrower Term - NT) จำนวน 154 คำ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับศัพท์หลัก (Related Term - RT) จำนวน 152 คำ คำศัพท์ที่ไม่ใช้เป็นศัพท์หลักแต่เป็นการโยงมาจากศัพท์หลัก (Used For - UF) จำนวน 59 คำ และคำศัพท์ที่กำหนดให้เป็นศัพท์หลักซึ่งเป็นการโยงไปยังศัพท์หลัก (USE) จำนวน 34 คำ
Article Details
บทความทุกเรื่องที่ลงตีพิมพ์จะได้รับการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ความคิดเห็นและบทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นของผู้เขียนซึ่งมิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ การนำบทความในวารสารนี้ไปตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากคณะผู้จัดทำ
All articles submitted for publication will be reviewed by the academic reviewers. The editorial board and TLA claim no responsibility for the content or opinions expressed by the authors of individual articles or columns in this journal. Reprinting of any articles in this journal must be permitted by the editorial board.