การพัฒนาฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผา แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อพัฒนาระบบสืบค้นฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบสืบค้นฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเก็บรวบรวมจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง ได้แก่ 1) บุคลากรประจำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ประกอบด้วย หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ จำนวน 1 คน ภัณฑารักษ์ จำนวน 3 คน และพนักงานประจำพิพิธภัณฑ์ จำนวน 2 คน 2) ชาวบ้านผู้มีความรู้ด้านภาชนะดินเผาบ้านเชียงและกลุ่มผลิตภาชนะดินเผาลายเขียนสีบ้านเชียง จาก 3 หมู่บ้าน จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม พัฒนาออนโทโลยีจากข้อมูลภาชนะดินเผาบ้านเชียงด้วยโปรแกรมโพรทีเจ เพื่อให้ได้ภาษา OWL ที่ใช้สำหรับการอธิบายออนโทโลยีและกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล นำไปใช้ในการพัฒนาระบบสืบค้นฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มีคลาสหลัก จำนวน 4 คลาส ประกอบด้วย คลาสข้อมูลทางลักษณะ คลาสข้อมูลอายุสมัย คลาสข้อมูลรูปทรง และคลาสข้อมูลลวดลาย มีคลาสย่อย จำนวน 25 คลาส คุณสมบัติของคลาส ประกอบด้วย คุณสมบัติสำหรับกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคลาส จำนวน 7 ความสัมพันธ์ และคุณสมบัติของชนิดข้อมูล จำนวน 26 คุณสมบัติ ระบบสืบค้นฐานความรู้ออนโทโลยีพัฒนาในรูปแบบเว็บแอพพลิเคชัน ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสืบค้นฐานความรู้ออนโทโลยีสำหรับภาชนะดินเผา แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.25) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านประสิทธิภาพของระบบสืบค้นฐานความรู้ (x̅ = 4.43)
Article Details
บทความทุกเรื่องที่ลงตีพิมพ์จะได้รับการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ความคิดเห็นและบทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นของผู้เขียนซึ่งมิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ การนำบทความในวารสารนี้ไปตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากคณะผู้จัดทำ
All articles submitted for publication will be reviewed by the academic reviewers. The editorial board and TLA claim no responsibility for the content or opinions expressed by the authors of individual articles or columns in this journal. Reprinting of any articles in this journal must be permitted by the editorial board.