การวิเคราะห์คุณลักษณะการใช้งานวารสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ Open Journal Systems

Main Article Content

ชวชล สุปรียาพร
ธนพรรณ กุลจันทร์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะการใช้งานสำหรับโปรแกรม OJS (Open Journal Systems) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับจัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์  เพื่อการพัฒนาพัฒนาคุณลักษณะการใช้งานเพิ่มเติม คุณลักษณะการใช้งานที่พัฒนาจะทำให้ผู้ใช้งานและผู้จัดการวารสารอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้โปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การวิเคราะห์คุณลักษณะการใช้งาน ได้จากการศึกษาวารสารอิเล็กทรอนิกส์ 10  รายชื่อ มาทำการวิเคราะห์หาคุณลักษณะการใช้งานที่มีทั้งหมด จากการศึกษาพบว่ามี 5 คุณลักษณะการใช้งานที่วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 10 รายชื่อมีเหมือนกัน จากนั้นทำการศึกษาคุณลักษณะการใช้งานวารสารอิเล็กทรอนิกส์ของโปรแกรม OJS  เทียบกับคุณลักษณะการใช้งานวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรมี พบว่า OJS มีคุณลักษณะการใช้งานวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ควรมีจำนวน 4 รายการ  คือ การปฏิสัมพันธ์ด้วยสื่อผสม  ข่าวสารทันสมัย  การสืบค้น และการทำงานร่วมกัน  คุณลักษณะการใช้งานที่ควรพัฒนาเพิ่มคือการเข้าถึงแหล่งข้อมูลอื่น เช่น การสืบค้นผ่าน Google Scholar นอกจากนั้นผู้วิจัยยังได้พัฒนาคุณลักษณะการใช้งานเพิ่มเติมอีก 3 รายการ เพื่อให้การใช้งาน OJS มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้แก่ 1) การแบ่งปันผ่านสังคมออนไลน์ 2) ระดับความนิยม 3) การตรวจนับ

หลังจากพัฒนาเสร็จได้นำไปทดลองใช้กับผู้ใช้ 2 กลุ่ม คือ อาจารย์ จำนวน 3 คน และผู้ใช้ทั่วไปจำนวน  30 คน พบว่าความพึงพอใจโดยรวมของคุณลักษณะการใช้งานวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 คุณลักษณะ

 

Developing of e-journal features for Open Journal Systems 

Chavachon Supreeyaporn1, Thanapun Kulachan2

1Undergraduate Student of Library and Information Science, Faculty of Humanities,  

Chiang Mai University

2Lecturer of Library and Information Science, Faculty of Humanities, Chiang Mai University

This study aimed to analyze the features in OJS (Open Journal Systems), an e-Journal management program, for developing more features.  Then the developing features would enable e-Journal users and editors to use the program more efficiently.

Feature analysis was done by studying the features used in 10 e-journals, and the analysis showed 5 common features found in all 10 e-journals. These 5 common features were compared to OJS and it was found that a feature which should be developed was the accessibility to other sources such as Google Scholar. Further, 3 additional features were developed to enhance the efficiency of OJS. These features were Social Network, Rating, and Counter.

After the features were developed, they were evaluated by 2 groups of users. The first group comprised of 3 lecturers and the second group comprised of 30 general users. The result shows a high evaluation score for overall satisfaction of all 4 developed features.


Article Details

Section
Research Article