การสังเคราะห์งานวิจัยในสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

Main Article Content

อุไรวรรณ วรกุลรังสรรค์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์คุณลักษณะของงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 2) เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร วิชาการสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และสรุปภาพรวมของความรู้ที่ได้จากข้อค้นพบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบทความวิจัยด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการสาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2547–2557 จำนวน 5 รายชื่อ รวม 206 บทความ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวบข้อมูลเป็นแบบคุณลักษณะงานวิจัย จำนวน 1 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจง และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นบทความจากงานวิจัยประเภทวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญามหาบัณฑิตและปริญญาดุษฏีบัณฑิต ประเภทงานวิจัยที่มีการศึกษามากที่สุด คือ การวิจัยเชิงปริมาณซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพรรณนาหรือบรรยายข้อมูลมากที่สุด ผู้วิจัยดำเนินการโดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นการสุ่มที่ไม่ใช้ความน่าจะเป็น ประเภทการสุ่มแบบเจาะจง และการสุ่มแบบแบ่งชั้น ส่วนใหญ่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมากที่สุดคือ การแจกแจง และค่าร้อยละ บทความวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาที่มีเนื้อหาด้านผู้ใช้/การใช้/การรู้สารสนเทศ

 

The Research Synthesis on Library and Information Science

Uraiwan Vorakulrungson

M.A.(Library and Information Science) Assistant Professor, Faculty of Liberal Arts, Institute of Physical Education, Chumphon

The purposes of this research were: 1) to study the characteristic of the research articles; and 2) to synthesize of the research articles on library and information science. The example used in this study was 206 research articles published on library and information science journal with conducted from 2004 –2014. The research tools used in this research was the characteristic of the research recorded. The statistics for data analysis was frequency and percentile. The research result revealed that most of research was theses or dissertation with academic institute; using a survey method to descriptive analysis. The example was mainly people by purposive sampling and stratified random sampling. The most popular tool for research was a questionnaire. Frequency and percentages were highly in research. The trend of research contents were on user/ information using and information literacy.

Article Details

Section
Research Article