แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรม ปัญหาอุปสรรค และความต้องการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ 2) เพื่อกำหนดแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 72 คน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เมษายน 2558 ได้แบบสอบถามกลับคืนมาทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ และค่าร้อยละ นำผลที่ได้ไปกำหนดแนวทางการใช้งาน

ผลการวิจัยพบว่าผู้ปฎิบัติงานประชาสัมพันธ์มีการรับรู้และความเข้าใจในการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในระดับมากและมากที่สุด ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ใช้ Facebook และไม่ใช้ Twitter เพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กรมากกว่าใช้เพื่อการทำงานร่วมกัน มีปัญหาด้านการขาดนโยบายและแนวทางการใช้งานที่ชัดเจนและความเข้าใจในการใช้เครื่องมือบนสื่อสังคมออนไลน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ควรมีการบริหารจัดการการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้กับงานประชาสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ โดยประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เหมาะกับงานประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะ Facebook และ Twitter กำหนดนโยบายการใช้งาน สร้างแนวปฏิบัติการใช้งานร่วมกัน มีระบบตรวจสอบและควบคุมเนื้อหาสาระที่โพสต์หรือแชร์ ฝึกอบรมการใช้งาน สร้างเครื่องมือประเมินผลที่กำหนดตัวชี้วัดอย่างชัดเจน แต่งตั้งทีมงานขับเคลื่อนการใช้งาน และส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์

 

Guideline of using social media for internal public relation in Kasetsart University

Jutharat Sarawanawong

Ph.D. (Information Studies) Associate Professor, Department of Communication Arts and Information Science, Faculty of Humanities, Kasetsart University

This survey research aims to investigate behavior, problem and need of using social media for internal public relation,and to establish guideline of using social media for internal public relation at Kasetsart University. The sampling included 72 public relation staffs. Data collection during March–April 2015. 72 Questionnaires were returned and were analyzed by frequency and percentage. Social media guideline identify by analysis result.

The results revealed thatpublic relation staffs’ perception and understanding of social media application were highest and high level. Most of them mostly experienced Facebook except Twitter, using as tools for internal public relation rather than collaboration. The problems were lacking of setting clear policy and guideline, understanding of using social media tools. Kasetsart University should manage social media in internal public relation by systematic, consist of applying appropriate social media tools for various internal public relation especially Facebook and Twitter, establishing policy and performance guideline, providing content censorship and control of posting or sharing, providing training program for staff, establishing evaluation criteria as KPI (Key Performance Indicator), setting management team and organizational culture for supporting social media application.

Article Details

Section
Research Article