การตระหนักรู้จริยธรรมสารสนเทศในการใช้เฟซบุ๊กของนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตระหนักรู้จริยธรรมสารสนเทศในการใช้เฟซบุ๊กของนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในด้านสิทธิความเป็นส่วนตัว ความถูกต้องของสารสนเทศ สิทธิความเป็นเจ้าของสารสนเทศ และการเข้าถึงสารสนเทศตามสิทธิ์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 393 คน
ผลการวิจัยพบว่า นิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักรู้จริยธรรมสารสนเทศด้านสิทธิความเป็นส่วนตัวในระดับมาก ปานกลาง และน้อย โดยเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่นิสิตตระหนักรู้ในระดับมาก คือ การตั้งรหัสผ่านเฟซบุ๊กที่คาดเดาง่าย มีความเสี่ยงต่อการถูกเจาะระบบ ( = 4.31) ส่วนเรื่องที่นิสิตตระหนักรู้ในระดับน้อยว่าไม่ถูกต้อง คือ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้รวดเร็วควรใช้วิธีแท็กชื่อบนเฟซบุ๊ก ( = 2.34) ด้านความถูกต้องของสารสนเทศ นิสิตตระหนักรู้ในระดับมาก และปานกลาง เรื่องที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่นิสิตตระหนักรู้ คือ การแชร์ข้อมูลควรพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา (= 4.34) ส่วนเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่นิสิตตระหนักรู้ คือ การตรวจสอบการสะกดคำ ไวยากรณ์ให้ถูกต้องก่อนโพสต์ (= 2.56) ด้านสิทธิความเป็นเจ้าของสารสนเทศ นิสิตตระหนักรู้ในระดับมาก ปานกลาง และน้อย โดยเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่นิสิตตระหนักรู้ในระดับมาก คือ การโพสต์ผลงานที่ลอกเลียนจากผู้อื่น ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นความคิดของตนเอง ถือเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นเจ้าของ (( )= 4.46) ส่วนเรื่องที่นิสิตตระหนักรู้ในระดับน้อยว่าไม่ถูกต้อง คือ การโพสต์ผลงานเพลง ภาพยนตร์ของผู้อื่น ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าผู้โพสต์ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า (= 2.45) และด้านการเข้าถึงสารสนเทศตามสิทธิ์ นิสิตตระหนักรู้ในระดับมาก และปานกลาง โดยเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่นิสิตตระหนักรู้ คือ การส่งข้อความหลอกลวงเพื่อขโมยข้อมูลบนเฟซบุ๊กเป็นการเข้าถึงที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ( = 4.46) ส่วนเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดที่นิสิตตระหนักรู้ คือ การใช้เฟซบุ๊กผ่าน Wi-Fi สาธารณะ ยากต่อการถูกลักลอบเข้าดูข้อมูลบนเฟซบุ๊ก (= 3.24)
Awareness of information ethics in using Facebook among Chulalongkorn university undergraduate students
Itsaya Mee-ngren1 and Pimrumpai Premsmit2
1Librarian, Collection Management Division, Thammasat University Library
2Assistant Professor, Department of Library Science, Faculty of Arts, Chulalongkorn University
This study was aimed at studying the awareness of information ethics in using Facebook among Chulalongkorn University undergraduate students, in terms of, privacy, accuracy, property and accessibility. The data were collected from survey questionnaires of 393 Chulalongkorn University undergraduate students.
The results show that the students have high, medium, and low levels of privacy awareness. They are aware that setting up easy predictable Facebook passwords have a high risk of hacking with the highest mean score ( = 4.31). In addition, they have low of awareness that the rapid dissemination of information by tagging friends what users shouldn’t do on Facebook ( = 2.34). With regard to the information accuracy, they are aware at high and medium levels. The highest mean score is that Facebook users should consider the credibility of sources when sharing information ( = 4.34). The lowest mean score is that before posting on Facebook should check spelling and grammar ( = 2.56). The awareness of property on Facebook are high, medium, and low levels. The students are aware that sharing other work might lead to misunderstandings that it is their own work, which is the infringement of property rights with the highest mean score (= 4.46). They have low of awareness that posting other songs and movies even for non-commercial purposes was copyright infringement (= 2.45). As for accessibility, the results reveal high and medium levels of students’ awareness. The highest mean score is that the sending of fraudulent messages to steal information from others caused damages to others ( = 4.46). The lowest mean score is that using Facebook while to connect public Wi-Fi at low risk to access personal data (= 3.24).
Article Details
บทความทุกเรื่องที่ลงตีพิมพ์จะได้รับการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ความคิดเห็นและบทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นของผู้เขียนซึ่งมิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ การนำบทความในวารสารนี้ไปตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากคณะผู้จัดทำ
All articles submitted for publication will be reviewed by the academic reviewers. The editorial board and TLA claim no responsibility for the content or opinions expressed by the authors of individual articles or columns in this journal. Reprinting of any articles in this journal must be permitted by the editorial board.