พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

Main Article Content

พิชญะภาคย์ พิพิธพัฒน์ไพสิฐ
กุลธิดา ท้วมสุข

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ในการประกันคุณภาพการศึกษา ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง จำนวน 810 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งได้รับกลับคืนมาจำนวน 576 ชุด คิดเป็นร้อยละ 71.1 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ประกอบการทำงานในการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีสัดส่วนเพื่อนร่วมงานที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ร้อยละ 20–39 วัตถุประสงค์หลักในการเข้าใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์คือเพื่อการติดต่อสื่อสารและการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้  กิจกรรมที่กระทำอยู่เป็นประจำในเครือข่ายคือ การแบ่งปันความรู้ให้แก่เพื่อนสมาชิกและการแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาที่สนใจ ในส่วนพฤติกรรมในด้านการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ พบว่า ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเนื้อหาที่แลกเปลี่ยนแบ่งปันมากที่สุดคือ ข่าวสารที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา และเอกสารการเข้าร่วมฝึกอบรมสัมมนาด้านประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ คือการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการความรู้ และขาดผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่จะเป็นผู้แบ่งปันความรู้

Use of Social Network and Knowledge Sharing Behavior on Educational Quality Assurance of the Staff of Rajamangala Universities of Technology

This research aimed at studying the use of social network and knowledge sharing behavior on educational quality assurance (EQA) of the staff of Rajamangala Universities of Technology (RMUT) by using the survey research method. Samples of the study were 810 staff from nine RMUTs who were involved with the EQA at their universities.  Questionnaires were sent out for data collection, 576 (71.1%) of them were returned.  The data was analyzed by using the descriptive statistics.

The research finding revealed that most staff used the social network for their works relating to EQA. The proportion of colleagues who were active on social network was 20-39 percent. The primary purposes of access were for communication and knowledge sharing. The regular activities on the network were information sharing and posting their interested contents. For the knowledge sharing behavior, it was found that most staff have had experienced in sharing information on the social network. The contents that most shared were EQA’s news and the EQA’s trainings or seminars announcements. Most of staff shared their knowledge sharing and understood about the EQA at moderate level.  The major barriers for knowledge sharing were the lacks of understanding on knowledge management of the staff and the lacks of experts on EQA in the universities who could share their knowledge.


Article Details

Section
Research Article