พฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Main Article Content

จีรวรรณ ศรีวงษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1.) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ (2.) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 2-6
ปีการศึกษา 2555  จำนวน 456 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test พบว่า 1. นักศึกษาเริ่มต้นการค้นหาด้วยโปรแกรมการค้นหา ด้วยวิธีการกำหนดคำค้น และ เลือกใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการบนระบบอินเทอร์เน็ตมากที่สุด นักศึกษาประเมินสารสนเทศที่ค้นได้โดยพิจารณาจากความทันสมัยของสารสนเทศ และจะหยุดค้นทันทีเมื่อได้จำนวนรายการอ้างอิงครบตามจำนวนที่อาจารย์สั่ง 2. เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสารสนเทศตามตัวแปร ได้แก่ เพศ ชั้นปี และ คณะที่ศึกษาแล้ว พบว่า นักศึกษาในคณะที่ต่างกันมีพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศต่างกัน และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษาจำแนกตามเพศและชั้นปี 3. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษา คือ การประเมินความน่าเชื่อถือของสารสนเทศและการใช้ฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับ

Information Behavior of Undergraduate Students at Thammasat University

The purposes of this study were (1.) to study information behavior of Thammasat University undergraduate students and (2.) to study difficulties or problems occurred from information behavior. The sample group was 456 second to sixth year students enrolled in the 2012. The questionnaire was used as a tool for collecting data. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. The results of the study as follows: 1). It was found that search engines and information resources provided on the Internet were the resources that students used the most for their searching activities. The criteria used to evaluate that information was the update of the information. 2). The comparison of information literacy behavior of students based on gender, year, and faculty showed that student from different faculty had different information behavior in searching information behavior with statistically significant level at .05. However, comparing the behavior of student by gender and year, there is no difference between gender and year with statistically significant level. 3). Most of students viewed that the difficulties of searching activities were information evaluation and searching online databases.

Article Details

Section
Research Article