สภาพวัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษา 1) สภาพวัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะไทย 2) เปรียบเทียบวัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะไทยและต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อพัฒนากรอบวัฒนธรรมสารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในงานวิจัยนี้คือพนักงานฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการจำนวน 33 คนซึ่งเป็นพนักงานสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจำนวน 14 คนและพนักงานองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยจำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า 1) สถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะไทยมีวัฒนธรรมองค์กรแบบราชการ และแบบเปลี่ยนแปลงพัฒนา ส่วนสภาพวัฒนธรรมสารสนเทศเป็นวัฒนธรรมสารสนเทศแบบเป็นทางการและแบบนวัตกรรม 2) ผลการเปรียบเทียบวัฒนธรรมสารสนเทศของสถานีโทรทัศน์เพื่อสาธารณะไทยและต่างประเทศพบว่า มีนโยบายการใช้ระบบสารสนเทศ แผนการจัดการสารสนเทศ และมีการใช้มาตรฐานการลงรายการสำหรับระเบียนรายการสารสนเทศ ส่วนสถานีโทรทัศน์สาธารณะไทยพบว่ามีนโยบายด้านสารสนเทศ แผนการจัดการสารสนเทศ และมีการกำหนดแนวทางในการจัดการสารสนเทศที่ใช้ในหน่วยงาน
The Status of Information Culture in Thai Public Television Stations
This research aimed to study 1) the status of the information culture in Thai public television stations. 2) to compare the information culture between Thai public television stations and abroad. This research is a part of the research to develop the information culture framework for Thai public television stations. This research was a qualitative study. The population and the sample group were 33 mass media specialists who work in administrative level and supportive level of 2 Thai public television stations. The sample groups were 14 mass media specialists from The National Broadcasting Services of Thailand and 19 mass media specialists from Thai Public Broadcasting Service. The tool used in data collection was an interview and data worksheets, the data analysis was descriptive and content analysis. The research findings can be summarized as follows: 1) Organizational culture in Thai public television stations was bureaucracy culture and adhocracy culture. The status of information culture in Thai public television stations were formal information culture and innovative culture. 2) Comparing the information culture between Thai public television stations and abroad found most public television stations abroad had the written information policy with information management plan and record management standard. In Thai public television stations had information policy, information management plan and guideline for information management in organization.
Article Details
บทความทุกเรื่องที่ลงตีพิมพ์จะได้รับการตรวจอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ความคิดเห็นและบทความที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นของผู้เขียนซึ่งมิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำ และมิใช่ความรับผิดชอบของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ การนำบทความในวารสารนี้ไปตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากคณะผู้จัดทำ
All articles submitted for publication will be reviewed by the academic reviewers. The editorial board and TLA claim no responsibility for the content or opinions expressed by the authors of individual articles or columns in this journal. Reprinting of any articles in this journal must be permitted by the editorial board.