การพัฒนาตัวแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนตามบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

Main Article Content

ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน

Abstract

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาตัวแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนตามบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ เพื่อพัฒนาตัวแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนตามบทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และเพื่อจัดทำพิพิธภัณฑ์เสมือนตามบทบาทมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จากตัวแบบที่พัฒนาขึ้น โดยมีข้อค้นพบ ดังนี้ 

ด้านการพัฒนาตัวแบบพิพิธภัณฑ์เสมือน กรอบแนวคิดในการพัฒนาตัวแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนมีองค์ประกอบ 5 ด้าน คือ  ด้านตัวแบบ ด้านพิพิธภัณฑ์เสมือน ด้านบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ 2547  (มาตรา 7) ด้านกระบวนทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น และ ด้านระบบการนำชม จากการวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและการสังเคราะห์เนื้อหาโดยคัดสรรเฉพาะคำที่เป็นคำสำคัญที่เกี่ยวข้องบริบทของการพัฒนาท้องถิ่นสามารถสรุปเนื้อหาสำหรับใช้เป็นห้องจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เสมือนได้เป็น 7 ห้อง คือ ห้องเกียรติยศ ห้องภูมิปัญญาท้องถิ่น ห้องบุคคลสำคัญในท้องถิ่น ห้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ห้องโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ  ห้องวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และห้องอาเซียน ส่วนโครงสร้างของตัวแบบใช้สัญลักษณ์เป็นรูปบ้าน ซึ่งเชื่อมโยงจากคำขวัญของมหาวิทยาลัยว่า “บ้านแห่งความสำเร็จ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา” ผลการประเมินคุณภาพของตัวแบบพิพิธภัณฑ์เสมือนโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ จำแนกประเด็นการประเมินออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านกรอบแนวคิด ด้านห้องจัดแสดง ด้านเนื้อหา ด้านระบบการนำชม และ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.59)

ด้านการจัดทำพิพิธภัณฑ์เสมือน สร้างโดยใช้โปรแกรม Adobe Illustrator และ Adobe Flash การจัดแสดงจำแนกเป็นฉากนำ 2 ฉาก คือ เปิดบ้านแห่งความสำเร็จ และ ห้องรับแขก โดยมีห้องจัดแสดงเนื้อหา 7 ห้อง คือ ห้องเกียรติยศ ห้องภูมิปัญญาท้องถิ่น ห้องบุคคลสำคัญในท้องถิ่น ห้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ห้องโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ห้องวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา และห้องอาเซียน ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้พิพิธภัณฑ์เสมือน จำแนกประเด็นการประเมินออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านระบบการนำชม ด้านการออกแบบ ด้านข้อมูลในห้องจัดแสดง และ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมีความพึงพอใจมาก (ค่าเฉลี่ย 4.43)

The development of virtual museum model on Rajabhat university’s roles

as higher education institution for local development

The main objectives of this research were 1) to develope a model of virtual museum on Rajabhat University’s roles for local development 2) to create a virtual museum based on the developed model from stage 1. The research findings are as follows:

The development of creating virtual museum model. The conceptual framework of the creation of a virtual museum model consists of 5 factors including: the Model; the Virtual Museum; The Rajabhat University’s Roles based on The Rajabhat University Act 2004 (section 7); the Local Development Paradigm; and the Virtual Tour System. From the analysis of the Rajabhat University’ roles as an higher education institution for local development and the synthesis of the contents by selecting specific keywords related to the context of local development, it can be summarized to being seven exhibition rooms including Hall of Fame; Local Wisdom; Local Dignitaries; Natural Resources and Local Environment; Royal Projects; Teacher Professional and Education Personnel; and ASEAN Collection. The Home’s structure is used as a symbol of the model that was linked from the motto of the University "Home of Success”. The quality of a virtual museum model on the Rajabhat University’s roles for local development were evaluated by five experts in five areas that was classified into 5 aspects including conceptual framework; exhibition room; content; virtual tour system and; utilization. The overall average was at a very good level (average 4.59).

The creation of virtual museum.  Adobe Illustrator and Adobe Flash were used for creation. There were two introduction exhibit scenes including Open Home of Success; and Living Room. Seven exhibition rooms were created including Hall of Fame; Local Wisdom; Local Dignitaries; Natural Resources and Local Environment; Royal Projects; Teacher Professional and Education Personnel; and ASEAN Collection. The assessment of the satisfaction classified into four aspects including Virtual Tour System; Exhibition Room Design; Content; and Utilization. The overall result was at a very satisfied level (average 4.43)

Article Details

Section
Research Article