มาตรฐานการรับรองคุณภาพการจัดการข้อมูลวิจัยในคลังสารสนเทศสถาบันที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยไทย

Main Article Content

น้ำทิพย์ วิภาวิน

Abstract

การพัฒนามาตรฐานการรับรองคุณภาพการจัดการข้อมูลวิจัยในคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของมาตรฐานการรับรองคุณภาพข้อมูลวิจัยในคลังสารสนเทศสถาบัน 2) ศึกษาสภาพการจัดการข้อมูลวิจัยในมหาวิทยาลัยไทย 3) ศึกษาความพร้อมของมหาวิทยาลัยไทยในการประยุกต์ใช้มาตรฐานสากลในการรับรองคุณภาพข้อมูลวิจัยในคลังสารสนเทศสถาบัน 4) พัฒนารูปแบบมาตรฐานการรับรองคุณภาพข้อมูลวิจัยในคลังสารสนเทศสถาบันที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารข้อมูลวิจัยในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนรวม 30 แห่ง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูล และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของมาตรฐานการรับรองคุณภาพข้อมูลวิจัยในคลังสารสนเทศสถาบัน ทั้ง 4 มาตรฐาน มี 10 องค์ประกอบ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตข้อมูล คลังสารสนเทศสถาบัน และผู้ใช้ข้อมูล 2) สภาพการจัดการข้อมูลวิจัยในมหาวิทยาลัยไทยทั้ง 30 แห่ง มีการจัดการข้อมูลวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยในฐานข้อมูลห้องสมุดมหาวิทยาลัยในโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ทั้งรูปเล่มและไฟล์ดิจิทัล โดยนำไฟล์ดิจิทัลที่เป็นฉบับเต็มเผยแพร่ผ่านระบบ ThaiLIS บางแห่งมีการจัดเก็บและเผยแพร่ผ่านคลังสารสนเทศสถาบัน แต่ส่วนใหญ่ขาดนโยบายการจัดเก็บและการเผยแพร่ข้อมูลวิจัยในระยะยาว 3) มหาวิทยาลัยไทยมีความพร้อมในการประยุกต์ใช้มาตรฐานสากลในการรับรองคุณภาพข้อมูลวิจัยในคลังสารสนเทศสถาบันในด้านการจัดการวัตถุดิจิทัลโดยห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ (จำนวน 18 แห่ง) มีการใช้คลังสารสนเทศสถาบันเผยแพร่ข้อมูลวิจัยในระบบเปิด แต่ยังขาดความพร้อมในด้านนโยบายระดับองค์กร และโครงสร้างพื้นฐาน 4) รูปแบบมาตรฐานการรับรองคุณภาพข้อมูลวิจัยในคลังสารสนเทศสถาบันเป็นแนวปฏิบัติการจัดการข้อมูลวิจัยในคลังสารสนเทศดิจิทัล เพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานในด้านองค์กร ด้านคลังสารสนเทศดิจิทัล และด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิค

The proposed standard for the quality assurance of the research data management in institutional repositories for Thai universities

This research leads to standard development for quality assurance of research data management in institutional repositories of Thai universities. It aims 1) to analyze the attributes of quality assurance standards of research data management in institutional repositories, 2) to investigate the current research data management in Thai universities, 3) to examine preparatory measures by Thai universities in adopting international standards to validate research data quality in institutional repositories, and 4) to develop principles of quality assurance standards of research data in institutional repositories that are particularly appropriate for Thai universities. The samples account 30 research data executives from 30 public and private universities. The research tools include interviewing and recording documents. The research has been analyzed by using content analysis.

The research findings are  1) in all 4 quality assurance standards of research data in institutional repositories, there are 10 attributes that relate to data researchers, the institutional repositories and data users.  2) The investigation of current research data management in 30 universities in Thailand shows that research data, such as theses and research reports, are collected in university library database using library automation software. This is for users to be able to gain access to either hardcopy or digital version. While many digital full-text files can be accessed via ThaiLIS, some are archived and published via institutional repositories only. In such case, a policy to cope with the preservation and the dissemination of research data is still undergoing in number of institutions. 3) Thai universities are well prepared to adopt international standards to validate research data quality in institutional repository, especially in digital materials management. Many universities (i.e. 18 out of 30 institutions) have adopted an open access institutional repository system in their university library, but are still ingenuous of such organizational policies and risk and safety management of data. 4) The principles of quality assurance standards of research data in institutional repository are the practice set up to manage research data in digital information archives in order to meet standard qualifications in terms of being an organization, a digital repository, and technical infrastructure. However, being qualified for the digital repository is a primary matter to the organization and technical infrastructure.

Article Details

Section
Research Article