การพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 24 จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พฤษมงคล จุลพูล

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  2) เพื่อรวบรวมแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ผู้ให้ข้อมูลหลักใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 24 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 156 คน และผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่ม และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลแบบแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และพรรณนาเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านบุคลากร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการวางแผน รวบรวมปราชญ์ชาวบ้านได้ จำนวน 139 คน มีภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 207 เรื่อง ระบบฐานข้อมูลจัดเก็บข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 9 ด้าน ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าใช้งานภายในระบบด้วยการเพิ่ม แก้ไข และลบข้อมูล เพื่อจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้

Developing a database of local wisdom learning resources for student learning in the Border Patrol Police Schools in Border Patrol Police-Subdivision 24, Udon Thani province

This research aimed at 1) studying the state of local wisdom learning resource management 2) gathering local wisdom learning resources 3) developing a database of local wisdom learning resources. Mixed-methods research was employed for this research. The primary informants were selected through purposive selection. Quantitative research included 24 administrators and teachers and qualitative research comprised 156 local scholars and 12 administrators and teachers. Research instruments consisted of a questionnaire, in-depth interview, focus group meeting and observation. Data were analyzed for frequency, percentage, mean and standard deviation as well as descriptive content analysis.

The research findings indicated that the overall state of local wisdom learning resource management was at a moderate level. When considering each aspect, the personnel aspect was found at the highest level while the planning aspect was rated at the lowest level. 139 local scholars and 207 local wisdom were gathered. The database of local wisdom learning resources was recorded into 9 aspects. The system administrator could access the system by adding, editing and deleting data for data management.

Article Details

Section
Research Article