การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

อาริยา เขียวรัตน์
ทัศนา หาญพล
พัชรี ผลโยธิน
ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัย (2) เปรียบเทียบสภาพการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัย จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์การสอนระดับปฐมวัย (3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัยและ (4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัย จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา และประสบการณ์ในการสอนระดับปฐมวัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ ครูปฐมวัยจำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เก็บรวบรวมได้จำนวน 269 ชุด คิดเป็นร้อยละ 91.18 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูปฐมวัยใช้สารสนเทศส่วนมากเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการจัดประสบการณ์พัฒนาผู้เรียน ต้องการใช้สารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ที่ทันสมัยไม่เกิน 1 ปี ใช้ภาษาไทยและคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการค้นหา (2) เปรียบเทียบสภาพการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัยพบว่า ครูปฐมวัยเพศหญิงใช้สารสนเทศมากกว่าครูปฐมวัยเพศชาย ครูปฐมวัยที่มีอายุ 51-60 ปีขึ้นไปใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนมากกว่าครูปฐมวัยที่มีอายุ 20-30 ปี 31-40 ปี และ 41-50 ปี ครูปฐมวัยที่มีวุฒิปริญญาตรีใช้สารสนเทศมากกว่า ครูวุฒิปริญญาโทและครูวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี และครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์การสอน 16 ปีขึ้นไปใช้สารสนเทศเพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนาการเรียนการสอน มากกว่าครูที่มีประสบการณ์การสอน 1–5 ปี 6–10 ปี และ 11–15 ปี (3) ปัญหาการใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูปฐมวัยพบว่า ด้านแหล่งสารสนเทศ สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เครือข่ายไม่เสถียร และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความเร็วของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอ ท าให้การดาวน์โหลดข้อมูลทำได้ช้าและ (4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศของครูปฐมวัย พบว่า ครูปฐมวัยที่มีอายุ 51-60 ปี มีปัญหาการใช้สารสนเทศมากกว่าครูที่มีอายุ 20- 30 ปี 31–40 ปี และ 41–50 ปี คือไม่รู้วิธีการสืบค้นสารสนเทศ ครูปฐมวัยที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีปัญหาการใช้สารสนเทศมากกว่าครูที่มีวุฒิปริญญาตรีและปริญญาโท คือมีปัญหาในเรื่องสารสนเทศล้าสมัย ไม่ตรงกับความต้องการ และด้านประสบการณ์การสอนครูปฐมวัยที่มีประสบการณ์การสอน 16ปีขึ้นไป มีปัญหาการใช้แหล่งสารสนเทศมากกว่า ครูที่มีประสบการณ์ในการสอน 1–5 ปี 6–10 ปี และ 11–15 ปี คือผู้เชี่ยวชาญมีน้อย ไม่สามารถเข้าถึงตัวผู้มีความรู้

The use of information for instruction by early childhood teachers in schools under the office of Bueng Kan primary education service area

This study aimed to (1) study information use for instruction. (2) compare information use for instruction by early childhood teachers classified by gender, age, degree of education and teaching experience (3) study the problems of information use for instruction by early childhood teachers, and (4) compare study problems of information use for instruction by early childhood teachers, classified by gender, age, degree of education and experience in teaching. The population were 295 early childhood teachers. The research tool was a questionnaire. 269 copies, which was 91.18 percent. the questionnaire were collected. Statistics used for data analysis were percentage, means and standard deviation.
The results were as follows: (1) Early childhood teachers mostly used information for instruction development, setting the experience, and developing the students. They required up to date printed forms, not exceeding one year, in Thai language, and they use computers as tools for information searches. (2) Comparing the use of information for instruction by early childhood, it was found that female teachers used information much more than male teachers. Early childhood teachers aged 51-60 used information for instruction development more than teachers aged 20-30, 31-40 and 41-50. Early childhood teachers with bachelor’s degrees used information more than those with master’s degrees
or lower bachelor’s degrees. Early childhood teachers who have experience in teaching more than 16 years used information for self-development and teaching (3) Regarding problems of information use for instruction by early childhood teachers in the aspect of information sources, it was found that the electronic sources the network was not stable. In the aspect of information technology, the speed of the internet network was not sufficient so it caused slow data download. (4) Compare the problems of information use for instruction by early childhood teachers. It was found that early childhood teachers aged 51-60 had more problems in information use than those aged 20-30, 31-40 and 41-50. They did
not know how to search for information. Early childhood teachers who had lower bachelor’s degrees had more problems in information use than bachelor’s and master’s degrees teachers in the aspect of out of date and undemanding information. Early childhood teachers with at least 16 years of experience had more problems with information sources more than teachers with 1-5 years, 6-10 years and 11-15 years of experience. They had problems with information sources of people and lack of experts, and cannot reach knowledgeable persons.

Article Details

Section
Research Article