รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและหน่วยงานบริการสารสนเทศสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการเห็นในประเทศไทย

Main Article Content

จีรวรรณ ศรีวงษ์
อติชาต หาญชาญชัย
ปราณี อัศวภูษิตกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและหน่วยงานบริการสารสนเทศสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการเห็นในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีจากผลการศึกษาเรื่องการสำรวจสภาพและปัญหาของห้องสมุดและหน่วยงานบริการสารสนเทศเพื่อผู้มีความบกพร่องทางการเห็นในประเทศไทย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการประเมินร่างรูปแบบโดยการประชุมกลุ่มกับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดและหน่วยงานบริการสารสนเทศเพื่อผู้มีความบกพร่องทางการเห็น จำนวน 12 คน และการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการบริการสารสนเทศความบกพร่องทางการเห็น จำนวน 2 คน พบว่า รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและหน่วยงานบริการสารสนเทศสำหรับผู้มีความบกพร่องทางการเห็นในประเทศไทย มีลักษณะเป็นเครือข่ายผสมผสาน (Composited Network) โดยใช้แนวทางแบบผลักดันจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน (Bottom-up approach) ผ่านกิจกรรมในเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย การเริ่มสร้างความร่วมมือในหน่วยงานที่มีพันธกิจหรือความชำนาญเดียวกันช่องทางการสื่อสาร และกิจกรรมความร่วมมือ ได้แก่ การกำหนดคณะทำงานส่วนกลาง การกำหนดนโยบายความร่วมมือ การพัฒนาฐานข้อมูล การจัดฝึกอบรมระหว่างหน่วยงาน และการสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกเพื่อสนับสนุนการดำเนินการเครือข่ายความร่วมมือ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Brazier, H. and Owen, D. (2007). The roles and activities of the IFLA libraries for the blind section. Library Trends, 55(4), 864-878.

Clement, S. (2008). Skills for effective participation in consortia: Preparing for collaborating and collaboration. Collection management, 32(1-2), 191-204.

DAISY Consortium. (2024). Barriers to accessible reading in developing countries. Retrieved from https://daisy.org/news-events/articles/barriers-to-accessible-reading-in-developing-countries/

Department of empowerment of person with disabilities. (2024). Situation of people with disabilities in Thailand in August 2024. Retrieved from https://www.dep.go.th/images/uploads/files/31082567.pdf [in Thai]

Giordano, T. (2002). Library consortium models in Europe: A comparative analysis. Alexandria, 14(1), 41-52.

Gorman, G.E. and Cullen, R. (2000). Models and opportunities for library co‐operation in the Asian region. Library Management, (21)7, 373-384.

Kawai, Y. (2017). The guidelines of an education support model for visually impaired Japanese-major students in a higher education institute. Ganesha Journal, 13(1), 43–57. [In Thai]

Kolousek, J.E. (2021). A survey of services to visually impaired people in UK public libraries. (Master’s thesis). Loughborough University, United Kingdom.

Library of Congress. (2000). Bibliography for the blind: union catalog adds 38,000 records of British materials. Library of Congress Information Bulletin, 59(2). Retrieved from https://www.loc.gov/loc/lcib/0002/blind.html

Library of Congress. (2024) NLS: Who we are. Retrieved from https://www.loc.gov/nls/who-we-are/

Moghaddam, G.G. and Talawar, V.G. (2009). Library consortia in developing countries: an overview. Program: electronic library and information systems, (43)1, 94-104

Pal, J.K. and Das, P.K. (2007). Progress through partnerships: Consortia based E-resource subscription initiatives in India. Retrieved from https://digitalcommons.isical.ac.in/conf-articles/365/

RNIB. (2024). RNIB: About us. Retrieved from https://www.rnib.org.uk/about-us/

Sriwong, J., Harncharnchai, A., and Asvapoositkul, P. (2022). Investigation of the

current situation and problems of libraries and information service institutions for visually impaired person in Thailand. TLA. Bulletin, 66(1), 70–86.

Tripathi, A. and Lal, J. (2016). Library Consortia: Practical Guide for Library Managers. Kidlington: Elsevier.

Wijit, S. (2010). The operations of libraries for visually impaired people: Four case studies. (Master’s thesis). Srinakharinwirot University, Thailand. [In Thai]