ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น

Main Article Content

ขนิษฐา ไชยพันธุ์
รุ้งสินี เขียวงาม
ภิญญาพัชญ์ ญานะคำ
มานพ แก้วโมราเจริญ

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ พ.ศ. 2560 ได้มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานของรัฐทั้งหมด รวมถึงมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตั้งแต่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ส่งผลให้ทางสำนักหอสมุดเริ่มทำการทบทวนและปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง กระบวนการส่วนหนึ่งได้ถูกเลือกขึ้นมาเพื่อเป็นต้นแบบในการปรับปรุงกระบวนการทั้งหมด เพื่อให้การเลือกกระบวนการครอบคลุมและเหมาะสมกับสำนักหอสมุด ขั้นตอนการเลือกถูกพัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาปัจจัยสาคัญโดยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารร่วมกับแบบสอบถามรูปแบบการเปรียบเทียบเชิงคู่ถูกนามาคำนวณ ผลลัพธ์แสดงความสำคัญของปัจจัยเรียงตาม 4 อันดับแรกได้แก่ (1) การจัดซื้อจัดจ้างที่สนับสนุนงานวิจัย (2) การจัดซื้อจัดจ้างที่เน้นการให้บริการ (3) การจัดซื้อจัดจ้างที่บ่งบอกความเป็นสำนักหอสมุด (4) การจัดซื้อจัดจ้างที่สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ตามลำดับ และกระบวนการ 3 อันดับแรกที่จะนำมาปรับปรุงเพื่อเป็นต้นแบบได้แก่ (1) การจัดซื้อฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (2) การจ้างเหมาบริการระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (3) การจัดซื้อหนังสือ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaiyawong, C. & Matayong, S. (2017). The application of the analytical hierarchical process (AHP) to predict decision to implement automated library system: A case study of Resource Center of Technology Wachirapoly Songkhla. In Proceeding of the 8th Hatyai National and International Conference (pp. 381-391) Hatyai, Thailand: Hatyai University.

Limpakanvet, N. & Parncharoen, C. (2016). ปัญหาในการใช้งานระบบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Procurement: e-GP) ของเจ้าหน้าที่พัสดุในสำนักงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [Problems regarding the e-Government Procurement System encountered by the Office of the Basic Education.]. DPU Graduate Studies Journal. 5(2), 702-711. [In Thai]. Retrieved from https://grad.dpu.ac.th/journal5-3-59.html

Provincial University Library Network (PULINET). (2017). มาตรฐานการปฏิบัติงานและตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานตามกระบวนการหลักห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. [Standard of performance and performance indicators of university library core processes] Chiangmai: Provincial University Library Network. [In Thai]

Saaty, T.L. (2008). Decision making with the analytic hierarchy process. International Journal of Services Sciences, 1(1), 83-98.

Sana, P. (2017). Problems and obstructions in procurement performance audit of Office of the Auditor General of Thailand. (Independent Study), Chiang Mai University, Thailand. [In Thai]

Sophasuwan, N. & Lawbaumrung, V. (2013). Proficiency of management by likert framework that affect proficiency of e –government procurement of sub –district administrative organization in Nakhonsawan. Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University. 7(2), 15-27. [In Thai]. Retrieved from http://graduate.psru.ac.th/pdf/service/journal56ep2.pdf.pdf

Suksan, K. (2017). Improvement of procurement audit form for Office of the Auditor General of Thailand. (Independent Study). Chiang Mai University, Thailand. [In Thai]

Tosa-nguan, S. (2007). Perception and usage of e-procurement in public sector to official in the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Natural Resources and Environment. (Master’s thesis). Dhurakijpundit University, Thailand. [In Thai]. Retrieved from http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/131518.pdf