คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตามความต้องการของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล

Main Article Content

สายสุดา ปั้นตระกูล
บรรพต พิจิตรกำเนิด
บุญญลักษม์ ตำนานจิตร
จิตชิน จิตติสุขพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตามความต้องการของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล กลุ่มตัวอย่างคือ สถานประกอบการ จำนวน 50 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดของหน่วยงานรัฐบาล จำนวน 24 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 48.00 ห้องสมุดเอกชน จำนวน 17 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 34.00 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จำนวน 9 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 26.00  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตามความต้องการของสถานประกอบการในยุคดิจิทัล ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.35)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบมีค่าเฉลี่ยระดับมาก ( =4.50) รองลงมาคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ( = 4.45) ด้านการคิดวิเคราะห์เซิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ( =4.36)  ตามลำดับ การเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ตามความต้องการของสถานประกอบการ พบว่า ระดับความต้องการด้านคุณธรรมจริยธรรมของสถานประกอบการภาครัฐ เอกชนและอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anugtanatkul, K. (2013). Qualifications of tourism and hotel graduates according to Thailand qualifications framework for higher education: faculty of liberal arts, Rajamangala University of Technology Thanyaburi (Master’s thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Thailand. [In Thai]

Bureau of Standards and Evaluation. (2010). Higher standards and related standards. Bangkok: Office of the Higher Education Commission, Ministry of Education. [in Thai]

Chuchuay, P., Khawwongsri, S., & Srimai, W. (2015). Factor analysis of the desirable characteristics of University graduates in South of Thailand (pp.1217-1231). In การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติครั้งที่ 6 [6th Hat Yai Academic Conference], June 26, 2015, Hat Yai

University,Thailand. [in Thai]

Deita, H.C.H., and Phauckchantuck, A. (2013). Desired traits of the English business communication interns as perceived by business organizations. Sripatum Chonburi Journal, 9(3), 27-33. [in Thai]

Faculty of Management, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. (2011). Business Administration Program in Retail Business Management Graduates revised 2011 (draft). Pathum Thani: Author. [in Thai]

Jarupoom, A. (2016). A study of information technology competency for government readiness on digital economy: Case study at Information and Communication Technology Centre-Office of the Permanent Secretary, Ministry of Finance (Master’s thesis). Thammasat University, Thailand. [In Thai]

Khankaew, J. (2014). The expectation of entrepreneurs in Mueang district Chiang Mai province concerning desired characteristic of graduate accounting. FEU Academic Review, 7(2), 151-159. [in Thai]

Lertgrai, P., and Nilakan, L. (2016). Fieldwork and data collection in local Community. Narkbhut Paritat Journa Nahkon Si Thammarat Rajabhat University, 8(2), 1-10. [in Thai]

Office of the Higher Education Commission. (2018). The 20 Year Long Range Plan on Higher Education of Thailand. Bangkok: Author. [in Thai]

Office of the Prime Minister. (2016). Draft of 20 years national strategy framework (2017-2036). Bangkok: Author. [in Thai]

Robrue, M. & Bamrungratanakul, L. (2015). The desired characteristics of the graduates in the field of English for Business Communication. Panyapiwat Journal, 7(2), 221-231. [in Thai]