การวิเคราะห์ระบบการจัดเก็บ การให้บริการและลักษณะเฉพาะของ หนังสืออนุสรณ์งานศพด้านดนตรีของห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Main Article Content

นัดดาวดี นุ่มนาค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาระบบการจัดเก็บและการให้บริการหนังสืออนุสรณ์งานศพด้านดนตรีของห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของสารสนเทศกลุ่มดังกล่าวในประเด็นเกี่ยวกับประวัติ คำไว้อาลัย ภาพประกอบ อายุของสิ่งพิมพ์ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของเนื้อหาหนังสืออนุสรณ์งานศพกับผู้วายชนม์  เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการหนังสืออนุสรณ์งานศพด้านดนตรี ผลการวิจัยพบว่า ห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดเก็บหนังสืออนุสรณ์งานศพไว้ในหมวดหนังสือทั่วไป โดยจัดเก็บด้วยระบบรัฐสภาอเมริกัน  เป็นการให้บริการในระบบชั้นเปิด ข้อมูลภายในเล่มประกอบด้วยประวัติและรูปภาพของผู้วายชนม์ เนื้อหาที่จัดพิมพ์ส่วนใหญ่เป็นผลงานของผู้วายชนม์เพศชาย เนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ด้านดนตรีไทย การสร้างโน้ตสากลในการบรรเลงเพลงไทยเดิมและศิลปวัฒนธรรม  รูปแบบในการผลิตส่วนใหญ่จัดพิมพ์ในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์และมีบางรายการที่จัดทำเป็นซีดีรอมประกอบกับสื่อสิ่งพิมพ์  ความสัมพันธ์ของเนื้อหากับผู้วายชนม์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน พบการเขียนคำไว้อาลัยโดยญาติ เพื่อนและลูกศิษย์  อายุของสิ่งพิมพ์หนังสืออนุสรณ์งานศพด้านดนตรีพิมพ์เผยแพร่ระหว่าง พ.ศ.2506 – 2565

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bundit, A., and Mettariganon, D. (2014). Thai cremation books storage and services: a case study of the center for library resources and educational media Walailak University. Pulinet Journal, 1(2), 144-150. [In Thai]

Chaithieng, T. (2010). An analysis of cremation books published between 1988 and 2008 (Master’s Thesis, Ramkhamhaeng University, Thailand). [In Thai]

Chanpaisalsin, N. (1999). An analysis of cremation books published between 1978 and 1987 (Master’s thesis). Chulalongkorn University. Thailand. [In Thai]

Chuamwarasart, K. (2013, 7, November). The cremation book: The value you deserve?. Matichon, p.20 [In Thai]

Dhikara, A. (1984). Rare book library. Bangkok: Thai Wattana Panich Publishing House. [In Thai]

Dhikara, A. (2013). Rare book. In Special information resources unit 8-15. (pp.1-5). Nonthaburi: School of Liberal Arts, Sukhothai Thammathirat Open University. [In Thai]

Jarusawat, K. (2009). Rare book management in university libraries (Master’s thesis). Chulalongkorn University. Thailand. [In Thai]

Juntalun, S. and Arayaphan, W. (2018). The usage of rare books in Thai National Libraries. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts), 12(6), 1136-1156. [In Thai]

Kiriyanant, P. (2012). Articles of Thai cremation books in The Center for Southeast Asian Studies Library Kyoto University (IV). Kyoto: Center for Southeast Asian Studies.

Maitaouthong, T. (1995). Thai cremation books and cataloging. Journal of library and information science, 13(2), 42-49. [In Thai]

National Library of Thailand. (2008). Music information resources, types of print media and audio-visual media (exploring, collecting and procuring). Bangkok: King Rama IX Music Library and Princess Sirindhorn Music Library. [In Thai]

Navikamul, A. (1998). Take a look at old books. Bangkok: Dokya. [In Thai]

Olson, G. (1992). Thai cremation volumes: a brief history of a unique genre of literature. Asian Folklore Studies, Vol 51, 279-294.

Phongphanich, D. (2003, 8 – 14, September). The cremation books. Ramkhamhaeng News 33(2), p.3. [In Thai]

Ratanaraj, St. (1999). The Use of Cremation Books by historians in State Universities. (Master’s thesis). Chulalongkorn University. Thailand. [In Thai]

Suddai, W. (2013). Musical articles on the sidewalk. Retrieved from https://www.gotoknow.org/posts/355064.

White, M. D., and Marsh, E. E. (2006). Content Analysis: A flexible methodology. Library Trends, 55(1), 22-45.