การประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับประถมศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 ด้วยการใช้เกม

Main Article Content

ชโรชีนีย์ ชัยมินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับประถมศึกษาก่อนและหลังการประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการรู้เท่าทันสื่อด้วยการใช้เกม วิธีดำเนินการวิจัยคือนำเกมเพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการรู้เท่าทันสื่อ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ชื่อเกม “จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่” ในโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเกมเพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ด้านการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย” มาใช้เป็นเครื่องมือในการสอนทักษะ การคิดวิเคราะห์และใช้แบบทดสอบเพื่อประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการรู้เท่าทันสื่อแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-ป.6) จาก 5 โรงเรียนในพื้นที่อำเภอแม่อายและอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 350 คน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการรู้เท่าทันสื่อเพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.43 มีทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการรู้เท่าทันสื่อลดลง ร้อยละ 8.00 และมีทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการรู้เท่าทันสื่อเท่าเดิม ร้อยละ 10.57 โดยนักเรียนมีคะแนนระดับพฤติกรรมการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนอยู่ในระดับดีและหลังเรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม 4 โรงเรียน ผลการเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เกมพบว่า หลังเรียนรู้ด้วยเกมเพื่อเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ฯ นักเรียนมีระดับคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ammarukleart, S. & Santiteerakul, W. (2022). Design and development of games to enhance critical thinking skills in media literacy for primary school students. Chiang Mai: Rajabhat Chiang Mai University. [In Thai]

Anawajsiriwongs, T. & Anawajsiriwongs, P. (2018). MIDL for Kids การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล สำหรับเด็กปฐมวัย [MIDL for kids: Digital literacy, information and digital for early Childhood]. Bangkok: Child and Youth Media Institute. [In Thai]

Bloom, B. S. (1961). Taxonomy of education objectives. New York: David McKay.

Bunga-mongkon, N. & Kotwan, U. (2020). The effect of student leader training on developing media learning process. Ratchaphruek Journal, 18(2), 54-61. [In Thai]

Cicchino, M. I. (2015). Using game-based learning to foster critical thinking in student discourse. International Journal of Problem-Based Learning, 9(2). doi: https://doi.org/10.7771/1541-5015.1481

Costa, C., Tyner, K., Henriques, S., & Sousa, C. (2018). Game creation in youth media and information literacy education. International Journal of Game-based learning, 8(2), 1-13. doi: 10.4018/IJGBL.2018040101

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing. (4th ed.). New York, NY: Harper & Row.

Fakjareon, P. & Onjai-uea, P. (2021). The effects of using the guidance activities on analytical thinking process to promote social media literacy of mathayomsuksa 2 students, satriwitthaya 2 school in under royal patronage of the king’ s mother. Journal of Education Measurement, 38(104), 95-105. [In Thai]

Kowtrakul, S. (2010). จิตวิทยาการศึกษา [Educational Psychology]. (9th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai]

Kularb, P. (2020). The promotion of media, information, and digital literacy for children and youth: case studies from South Korea, Singapore, and the United Kingdom. Journal of Journalism, 13(2), 130-165. [In Thai]

The National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2021). National Educational Test Report. Retrieved from https://www.niets.or.th/th/catalog/view/2950 [In Thai]

Office of the Basic Education Commission. (2007). แนวทางการกระจายอำนวจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 [Guidelines for decentralization of administration and education management to the committee Educational Service Area Offices and Educational Institutions according to the ministerial regulations, criteria and methods for decentralizing the administration and management of education are prescribed 2007]. Bangkok: OBEC. [In Thai]

Pharacheewa, P., et al. (2017). The guidelines to develop media literacy activities for primary school students. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal, 11(3), 23-30. [In Thai]

Sirisit, W., Intasingh, S., & Assapaporn, N. (2020). Effect of scenario-based learning management on the problem solving ability and media literacy for grade 6 students. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 21(3), 84-98. [In Thai]

Teeprat Pittaya School. (2019). Self-assessment report, academic year 2019. Surat Thani: Teeprat Pittaya School. [In Thai]

Wimonsitichai, N. (2022). Development of analytical thinking skills related to media literacy of elementary school. Chiang Mai: Rajabhat Chiang Mai University. [In Thai]

Wiroonraphan, K. (2011). ICT literacy. Bangkok: Asia Pacific Offset. [In Thai]