Phu Tai Dance of Ban Nong Hang, Kuchinarai District, Kalasin Province
Main Article Content
Abstract
ดนตรีของชาวภูไท บ้านหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ นั้นเป็นการฟ้อนรำเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษ เช่นต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และบางครั้งมักนิยมฟ้อนในงานประเพณีบุญข้าวจี่ การฟ้อนละคอนภูไทบ้านหนองห้างมีลักษณะเป็นการฟ้อนด้วยมือเปล่าโดยมีท่วงท่า และลีลาที่เป็นแบบแผนเฉพาะกลุ่มด้วยการผสมผสานนาฏศิลป์ท้องถิ่นอีสาน การฟ้อนละคอนภูไทบ้านหนองห้างนี้เป็นการฟ้อนที่แสดงออกถึงความสามัคคีและความพร้อมเพรียงของชาวภูไทในชุมชน ปัจจุบันนิยมใส่ลูกเล่นที่แสดงถึงความเป็นอิสระธรรมชาติการเกี้ยวพาราสีกัน เช่น
การเล่นหูเล่นตา การหยอกล้อ หรือลักษณะลูกเล่นและการแสดงท่าทางของแต่ละคน
กระบวนท่าฟ้อนของฟ้อนละคอนภูไทบ้านหนองห้างประกอบด้วยท่าฟ้อนต่าง ๆ 6 ท่า ได้แก่ ท่าไหว้ครู ท่าช่อม่วง ท่าบัวตูมบัวบาน ท่ากินรีหลิ้น(เล่น)น้ำ ท่าช้างเทียมแม่ และท่าอำลา ส่วนการก้าวเท้าหรือลักษณะการขยับขาเวลาฟ้อนเรียกว่า “ท่าเช็ดขี้ไก่” เพราะมีลักษณะการก้าวขาลากส้นเท้าไปกับพื้นเหมือนเป็นการเช็ดขี้ไก่ออกจากเท้านั่นเอง ประเด็นด้านเครื่องดนตรีของฟ้อนละคอนภูไทบ้านหนองห้างนั้น ประกอบด้วยเครื่องดนตรีหลัก 3 ชิ้นได้แก่ กลองตุ้ม กลองทว้า(ผางฮาด) และฉาบใหญ่ มีการบรรเลงคล้ายกับการบรรเลงเพลงกลองตุ้มแต่มีจังหวะที่เร็วกว่า
Article Details
References
ดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2544). สืบสานประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม ไป่เยว่ การศึกษาเชิงมานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์สร้างสรรค์ จำกัด.
บุษกร บิณฑสันต์, ขำคม พรประสิทธิ์. มโหรีอีสานใต้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
ปิยะพร กัญชนะ. อารยธรรมสัมพันธ์ วัฒนธรรมสัญจร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์ปาเจรา จำกัด; 2549
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. เล่าขานตำนานอินโดจีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สยามบันทึก ภายใต้การ
ดูแลของ บริษัท สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย จำกัด(มหาชน); 2553
สุจิตต์ วงเทศ. ร้องรำทำเพลง ดนตรีและนาฏศิลป์ชาวสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์; 2551.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ถึง พ.ศ. 2000. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดาพิมพ์; 2549.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. งาน 50 ปี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ออนไลน์) (อ้างอิงเมื่อ 23 สิงหาคม
2012). จากhttps://prachatai.com/journal
สุจิตต์ วงษ์เทศ. “วัฒนธรรมร่วม” ในอุษาคเนย์ รากเหง้าเก่าแก่ของประชาคมอาเชียน (ออนไลน์) (อ้างอิงเมื่อ
19 ธันวาคม 2559) จากhttps://www.silpa-mag.com
Lex. แนวคิดทฤษฎี (ออนไลน์) (อ้างอิงเมื่อ 15 กันยายน 2551) จาก http:// wwworavun .blogspot.com /2008 /09/blog-post_4419.html
สัมฤทธิ์ ชมศิริ. (2561). ประวัติที่มาของชาวภูไท บ้านหนองห้าง. ข้าราชการบำนาญ โรงเรียนหนองห้างฉวีวิทย์
ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (1 เมษายน 2561).
สีทัด คุธโธ. (2561) (1 เมษายน 2561). วิธีการบรรเลงดนตรีของชาวภูไท. นักดนตรี,ปราชญ์ชาวบ้านหนองห้าง
ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (1 เมษายน 2561).