ละครร้องแม่ชม้อย คังฆะรัตน์ เรื่องสามก๊ก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของละครร้อง ศึกษารูปแบบ และองค์ประกอบการแสดงละครร้องแม่ชม้อย คังฆะรัตน์ เรื่องสามก๊ก ตอนตั๋งโต๊ะหลงกลนางเตียวเสี้ยน และวิเคราะห์กระบวนท่าของลิโป้ในการแสดงละครร้องเรื่องดังกล่าว
ผลการศึกษาพบว่า ละครร้อง เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปพันธ์พงศ์ได้นำรูปแบบการแสดงจากตะวันตกมาผสมผสานกับละครไทยในหลากหลายรูปแบบ จนเกิดการพัฒนาเป็นละครร้องของไทย สำหรับการแสดงละครร้องแม่ชม้อย คังฆะรัตน์ เรื่องสามก๊ก ตอนตั๋งโต๊ะหลงกลนางเตียวเสี้ยนถึงแม้ว่าจะแสดงรูปแบบละครร้อง แต่แสดงเป็นทำนองงิ้ว กล่าวคือ ใช้เรื่องอย่างจีน แต่งตัวจีน ร่ายรำอย่างจีน แต่ร้องเพลงไทยหรือไทยสากลสำเนียงจีน หรือที่เรียกว่า “งิ้วไทย” ซึ่งบทบาทที่แม่ชม้อยมีชื่อเสียงมากที่สุด คือ บทบาทลิโป้ การแสดงบทบาทลิโป้ผู้แสดงต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการแสดงละครร้อง และต้องมีความสามารถพิเศษด้านการออกท่าทางอย่างงิ้ว และการแสดงมีฝีมือด้านการต่อสู้ เพราะบทบาทลิโป้นั้นเป็นพระเอกที่เป็นนักรบ อีกทั้งยังต้องมีกลวิธีการถ่ายทอดอารมณ์ และกลวิธีการแสดงท่าทางแบบอย่างงิ้ว ผสมผสานกับองค์ประกอบการแสดงที่เลียนแบบการแสดงงิ้วของจีนนั่นเอง สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนทำให้การแสดงละครร้องเรื่องนี้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากการแสดงละครร้องเรื่องอื่น ๆ และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของการแสดงละครร้องของแม่ชม้อย คังฆะรัตน์
The purposes of this research are as follows: (1) to study the history of a musical performance; (2) to study the performance styles and the elements of a musical performance by Mrs.Chamoy Kangkarat which is in the Three Kingdoms or Samkok in Thai : Dong Zhuo was fooled Diao Chan (Sable Cicada) and (3) to analyze the Lu Bu’s character performed and gesture in the according to a musical performance.
The results were as follows: a musical performance was originated in the reign of King Rama V by HRH Prince Naradhip Prapanpongse had integrated Western performing arts style with Thai plays in various styles which had been developed to be Thai musical performance. Although a musical performance by Mrs.Chamoy Kangkarat : the Three Kingdoms, Dong Zhuo was fooled Diao Chan (Sable Cicada), would play in musical performance. It’s performed in Chinese opera style which performed in Chinese story, Chinese costume, Chinese dancing but it’s sung in Thai-Chinese opera style or “Thai Ngew”. The most famous role of Mrs.Chamoy Kangkarat was “Lu Bu”. The performer who else will perform in his role, that person must have the appropriate qualification in the musical performance, the talent of acting like Chinese opera and the fighting ability performance seeing that Lu Bu’s role is the hero of warrior. Moreover, the actor can express feeling and performing like Chinese opera as well. These make a difference from other musical performances and make a unique of a musical performance by Mrs.Chamoy Kangkarat.
Article Details
References
ปรีดา อัครจันทโชติ. (2543). สุนทรียรูปในสื่อสารการแสดง “งิ้ว” ของคนไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวาทวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีดา อัครจันทโชติ. (2557). การข้ามพ้นวัฒนธรรมของสื่อการแสดงงิ้วในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรัตน์ สุวรรณรัตน์. (2539). การวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละครในวรรณคดีเรื่องสามก๊กตามแนว จริยศาสตร์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิมพิกา มหามาตย์. (2557). ละครร้องเรื่องสาวเครือฟ้า ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิป ประพันธ์พงศ์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาลินี ดิลกวานิช. (2543). ระบำและละครในเอเชีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2554). นาฏยศิลป์รัชกาลที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.
ปรีดา อัครจันทโชติ. (2554). วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิโชค แซ่โคว้. (2542). งิ้ว. กรุงเทพฯ: บริษัท คอมแพคท์พริ้นท์ จำกัด.
อรวรรณ บรรจงศิลป์. (2546). วิพิธทัศนาของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อารีย์ นักดนตรี. (2545). “วิจิตรมาตราสังคีต ครั้งที่ 5” งิ้วไทยเรื่อง “นางเนื้อหอม” ของขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) และคอนเสิร์ตเพลงวิจิตรมาตรา. กรุงเทพฯ: มูลนิธิขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์).