การรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อโฆษณาดิจิทัล ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวกูยจังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

Kitipong Prachachit

Abstract

การวิจัยเรื่องการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อโฆษณาดิจิทัล ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ชาวกูย เพื่อพัฒนาสื่อโฆษณาดิจิทัล ที่ส่งผลการรับรู้ของนักท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อโฆษณาดิจิทัล ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวกูย จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อโฆษณาดิจิทัล ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวกูย จังหวัดศรีสะเกษ      3) เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนจากการใช้ประโยชน์จากโฆษณาดิจิทัล ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวกูย จังหวัดศรีสะเกษ  พบว่าประสิทธิภาพของโฆษณาดิจิทัลรูปแบบ Banner Advertising มีค่าประสิทธิภาพในระดับดีมากมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ภาพมีสีสันที่สวยงามสื่อความหมาย น่าติดตาม มีเนื้อหา ขนาด ช่องทางในการเผยแพร่ พาดหัว กราฟิก ตัวอักษร และสีของโฆษณา มีความเหมาะสม สื่อถึงเอกลักษณ์ของชุมชน และบริการของชุมชนได้ดี สื่อสารได้รวดเร็วตรงประเด็น องค์ประกอบศิลป์มีความงามและความสมดุลของภาพ และรูปแบบแบบ Video Advertising พบว่าผลการประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เป็นสื่อโฆษณาดิจิทัลที่มีการดำเนินเรื่องอย่างเป็นลำดับ โดยมีการเคลื่อนไหวของพรีเซ็นเตอร์   กล้อง เสียงมีทั้งเสียงของนักแสดง เสียงดนตรีประกอบ และเสียงเอฟเฟ็ค มีความยาวทั้งสิ้น 1.30 นาที ผลการรับรู้มากที่สุด คือ เรื่องราวของชาวกูยมีความน่าสนใจและน่าติดตาม ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ชุมชนได้รับประโยชน์จากโฆษณาดิจิทัล 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านภาพลักษณ์และชื่อเสียง 2) ด้านการจําหน่ายสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน 3) ด้านการแสดงทางวัฒนธรรม และ 4) การท่องเที่ยวชุมชน

Article Details

How to Cite
Prachachit, K. (2020). การรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อโฆษณาดิจิทัล ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวกูยจังหวัดศรีสะเกษ. JOURNAL OF RATTANA PAÑÑĀ, 5(1), 51–66. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BLJOU/article/view/240591
Section
Research Article

References

พรวิรุณ ปีทอง. (2554). รูปแบบโฆษณาออนไลน์ที่มีผลต่อการเข้าถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ : ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พัชนี เชยจรรยา. (2558). ปัจจัยพยากรณ์การบอกต่อข่าวสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคกลางในสื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยว. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์: กรุงเทพมหานคร.
ราชศักดิ์ อัศวศุภชัย. (2560). โฆษณาดิจิทัลโตแรงปี60พุ่ง 29%. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์.
สาวิตรี ปิ่นเกษร. (2553). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนอัตราการคลิกผ่านแบนเนอร์โฆษณาบนอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.