การสื่อสารความหมายผ่านองค์ประกอบของพิธีกรรม “รำผีฟ้า”
Main Article Content
Abstract
“รำผีฟ้า” เป็นรูปแบบการสื่อสารที่สามารถสื่อความหมายเชิงพิธีกรรมในจังหวัดศรีสะเกษ เป็นพิธีบูชาผีฟ้าของชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ลาวจังหวัดศรีสะเกษ จัดทำขึ้นเพื่อบูชาอ้อนวอนผีฟ้าจากเหตุการณ์ที่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วรักษาไม่หาย ไปหาหมอแล้วไม่พบสาเหตุของอาการเจ็บป่วย ชาวลาวเชื่อว่าอาการเจ็บป่วยนั้นไม่ปกติ แต่เกิดจากความประสงค์ของผีบรรพบุรุษ จึงได้จัดพิธีกรรมรำผีฟ้าขึ้นเพื่อบูชาผีให้รักษาอาการเจ็บป่วยดังกล่าว เมื่อรักษาหายแล้วผู้ป่วยจะกลายเป็น “ลูกศิษย์ผีฟ้า” ที่ต้องมาเข้าร่วมพิธีกรรมลงข่วงเลี้ยงผีทุกปี ผู้เขียนใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ซึ่งผู้วิจัยใช้รูปแบบการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ เข้าร่วมพิธีกรรมเพื่อเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมพิธีกรรมและชาวบ้านผู้ร่วมสังเกตการณ์ จากการศึกษาพบว่า มีการสื่อสารเกิดขึ้นในการจัดพิธีกรรมหลายระดับ โดยรูปแบบการสื่อสารความหมายนั้น เมื่อพิจารณาในแง่ที่ผู้จัดพิธีกรรมและผู้ร่วมพิธีกรรมเป็นผู้ส่งสาร (Sender) พบว่ามีการสื่อสารความหมายในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ 1) การสื่อสารความหมายผ่านการแต่งหน้าและการแต่งกาย 2) การสื่อสารความหมายผ่านอุปกรณ์ประกอบพิธีกรรม 3) การสื่อสารความหมายผ่านท่าทางการรำ และ 4) สื่อสารความหมายผ่านบทกลอนลำ โดยสื่อความหมายถึง เพศ บุคลิกภาพ ประเภท และบทบาทของผีฟ้าเนื้อหาของพิธีกรรม ลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ในพิธีกรรม
Article Details
References
กาญจนา แก้วเทพ. 2554. สื่อพื้นบ้านศึกษาในสายตานิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
กิจติพงษ์ ประชาชิต, 2558. การออกแบบและพัฒนาหนังสือการ์ตูนเสริมสร้างการรับรู้ทางด้านวัฒนธรรมประเภทมุขปาฐะจังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2557. พิษณุโลก : วารสารวิชาการ AJNU ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 7 ฉบับที่ 1.
กฤษณ์ คำนนท์. 2558. ฟ้อนผีศรีสะเกษ : การสื่อความหมายจากการแต่งหน้าในฐานะศิลปะบำบัดในสื่อพิธีกรรมพื้นบ้าน. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
จินดา แก่นสมบัติ. 2551. การศึกษาดนตรีประกอบพิธีกรรมบวงสรวงผีบรรพบุรุษของหมอลำผีฟ้า บ้านโนนทอง ตำบลหนองจิก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มัลลิกา จันทรา. 2549. ความเชื่อและพิธีกรรมผีฟ้าของบ้านสว่างดอนดู่ ตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษาเพื่อการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
นฤมล วสันต์. 2556. การฟ้อนผีฟ้าของชาวบ้านฝอยลม ตำบลท่าดอกคำ อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.