การแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา

Main Article Content

On-uthai Ninlanam
Malinee Achayutthakan

Abstract

การแสดงในงานศิลปวัฒธรรมอุดมศึกษา เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา โดยขอบเขตการศึกษา คือ งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 1 – 19 ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร 2) การสัมภาษณ์บุคคล กลุ่มที่ 1 ที่ปรึกษางานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา กลุ่มที่ 2 สมาชิกเครือข่ายอุดมศึกษาทางด้านนาฏยศิลป์ กลุ่มที่ 3 นิสิต นักศึกษาที่ได้รวมงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา 3) ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง 4) การลงพื้นที่ภาคสนาม


ผลการวิจัยพบว่า  การแสดงที่ปรากฏในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ 1 – 19 ปรากฏการแสดง 5 ประเภท 23 รูปแบบการแสดง ได้แก่ ประเภทที่ 1 การแสดงมาตรฐาน ได้แก่ โขน หนังใหญ่ ละคร ระบำ รำ ฟ้อน ประเภทที่ 2 การแสดงพื้นบ้าน ได้แก่ นาฏยศิลป์พื้นบ้าน การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงดนตรีพื้นบ้าน อาวุธประจำท้องถิ่น ศิลปะป้องกันตัว ประเภทที่ 3 การแสดงสร้างสรรค์ ได้แก่ นาฏยศิลป์ไทย นาฏศิลป์ร่วมสมัย นาฏยศิลป์พื้นบ้าน ขบวนแห่ ละครรำ นาฏยศิลป์ตะวันตก ระบำสัตว์ การแสดงประกอบแสง สี เสียง ประเภทที่ 4 การแสดงนาฏยศิลป์นานาชาติ ได้แก่ นาฏยศิลป์อินเดีย นาฏยศิลป์อินโดเนเซีย นาฏยศิลป์มาเลเซีย นาฏยศิลป์เวียดนาม และประเภทที่ 5 การบรรเลงดนตรีประกอบการขับร้อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ของแต่ละสถาบัน โดยมีปัจจัยในการเลือกชุดการแสดง ดังนี้ 1) ความถนัด เอกลักษณ์ ทางด้านนาฏยศิลป์ของแต่ละมหาวิทยาลัย 2)ขนาดเวทีสำหรับการแสดง 3) จำนวนผู้แสดง 4)งบประมาณ  ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้


โดยการแสดงที่นำมาแสดงนั้นสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ของแต่ละสถาบันที่เข้าร่วม ยังเป็นการสืบทอด อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่โดยคนรุ่นใหม่ และเป็นศูนย์รวมของบุคลากรวงการนาฏศิลป์ไทยได้พบปะแลกเปลี่ยนพูดคุย เพื่อพัฒนาผลงานทางด้านนาฏยศิลป์รูปแบบต่าง ๆ  ต่อไป


 


 

Article Details

How to Cite
Ninlanam, O.- uthai, & Achayutthakan, M. . (2020). การแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา. JOURNAL OF RATTANA PAÑÑĀ, 5(1), 149–176. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BLJOU/article/view/241757
Section
Research Article

References

กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ฮีตฮอยศิลป์ ถิ่นตักสิลา ศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 14.ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2557.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิศิษฏศิลปินสรรพศิลป์สโมสร.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2558.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 11.เชียงใหม่: บริษัท มิ่งเมืองนวรัตน์ จำกัด โรงพิมพ์มิ่งเมือง, 2553.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ทบวงมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2543.
มหาวิทยาลัยบูรพา. งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 9.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2552.
มหาวิทยาลัยพายัพ. งานส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมทบวงมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ, 2541.
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. รายงานสรุปผลการประเมิณ งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 8: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. เชียงราย, 2549.
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. หนังสือที่ระลึก งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ 8 ศิลป์ ล้านนา ปูจาแม่ฟ้าหลวง. เชียงราย: โรงพิมพ์บดินทร์การพิมพ์, 2549.
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สูจิบัตรการแสดง ศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 19 “สืบสานวัฒนธรรมนาฏลีลาเฉลิมพระเกียรติพระราชาแห่งแผ่นดิน”. บุรีรัมย์: โรงพิมพ์วินัย, 2562.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. สานศิลป์ ถิ่นสองแคว.พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2560.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สถาบันวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติ. งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ทบวงมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. รายงานผลการประเมิณโครงการ งานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 12. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 2554.
มหาวิทยาลัยศิลปากร. นาฏยปรีติยานันท์ กึ่งศตวรรษ สนามจันทร์ ศิลปากร งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา ครั้งที่ 18.
นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2561.
มหาวิทยาลัยศิลปากร. ศิลปะ นาฏยลีลา ลักษณาศิลปากร.นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544.
มหาวิทยาลัยศิลปากร. ศิลปะ ศิลปิน ศิลปากร.กรุงเทพฯ: บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2552.
นภัสสร พูลเกษม. “การแสดงนาฏยศิลป์ในงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา.”งานวิจัยภาควิชานาฏยศิลป์ 2, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
ปาวริส มินา. “การแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา.” สัมภาษณ์โดย อรอุทัย นิลนาม. 23 ธันวาคม 2562.
ไพฑูรย์ เข้มแข็ง. “การแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา.” สัมภาษณ์โดย อรอุทัย นิลนาม. 3 ธันวาคม 2562.
มาลินี อาชายุทธการ. “การแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา.” สัมภาษณ์โดย อรอุทัย นิลนาม. 24 มิถุนายน 2562.
อรฉัตร ซองทอง. “การแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา.” สัมภาษณ์โดย อรอุทัย นิลนาม. 20 ธันวาคม 2562.