การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: ความท้าทายของผู้สอนในระดับอุดมศึกษา

Authors

  • ชนัดดา ภูหงษ์ทอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

transformative learning, teaching, higher education, การศึกษาในระดับอุดมศึกษา, การสอน, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

Abstract

การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเป็นหนึ่งในทฤษฎีการเรียนรู้ทางการศึกษาที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ความเชื่อหรือมุมมองภายในของบุคคลไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงปฏิบัติและการบูรณาการสู่ชีวิต กระบวนการเรียนรู้
สู่การเปลี่ยนแปลงได้สร้างผลกระทบเชิงบวกทั้งในระดับบุคคลเองและในระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ
สิ่งต่าง ๆ ในโลก บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและสร้างความท้าทายให้ผู้สอนในระดับอุดมศึกษาในการนำการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงไปใช้ในการสอนในรายวิชาหรือในสาขาวิชาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการเผยแพร่เชิงวิชาการ บทความนี้ได้นำเสนอสาระสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21 ภูมิหลัง สถานการณ์ปัจจุบัน นิยาม กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง กิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง และความท้าทายในการนำการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงไปใช้ในการสอนแก่ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาตามกลุ่มวิชาต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมถึงมีการนำเสนอแนวทางและตัวอย่างการวิจัยในทั้ง 3 กลุ่มวิชา ทั้งนี้ ผู้สอนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดแก่ผู้เรียนทั้งในด้านการเห็นคุณค่าและความหมายของความรู้ ด้านการเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การปฏิบัติและทักษะสำคัญต่าง ๆ และด้านคุณลักษณะทางจิตใจที่ส่งเสริมการนำความรู้และการปฏิบัติไปใช้ทั้งในชีวิตการเรียนและการทำงานในอนาคต

Transformative Learning: Challenges for instructors in Higher Education

Transformative learning is an educational learning theory to change the assumptions, beliefs, perspectives, and actions of individuals. The process of transformative learning can create positive outcomes in individuals, personal, and environment relationships. The purpose of this academic article is to challenge the instructors in the universities to teach and apply transformative learning theory into their classrooms or subjects, including to encourage producing and sharing new knowledge through the research article. Moreover, this article explains the important topics as follows: the changing needs of 21st century learners, the historical background, the current situation, definition, process of transformative learning, activities for applying transformative learning, and challenges of applying transformative learning into the university instructors’ classrooms in all three major category of academic disciplines as follows: health sciences, science and technology, and humanity and social sciences. Teaching of university instructors should be changed to develop the cognitive, psychomotor, and affective dimensions in learners to achieve their goals in study and work life.

Downloads

Published

2018-01-31

How to Cite

ภูหงษ์ทอง ช. (2018). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง: ความท้าทายของผู้สอนในระดับอุดมศึกษา. The Periodical of Behavioral Science, 24(1), 163–182. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/101207