ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่น: การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
Keywords:
research synthesis, systematic review, adolescents, smoking prevention, การสังเคราะห์งานวิจัย, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ, วัยรุ่น, การป้องกันการสูบบุหรี่Abstract
การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมงานวิจัยและสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่น เอกสารที่ทำการทบทวนในการวิจัยเป็นงานวิจัยที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2559 โดยสืบค้นอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งงานวิจัยที่ไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ พบงานวิจัยที่ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้าและการประเมินคุณภาพงานวิจัย จำนวน 16 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์อภิมานสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณและการสังเคราะห์แก่นเรื่องสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่า โปรแกรมการพัฒนาทักษะชีวิตโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ การสนับสนุนทางสังคมจากผู้ปกครอง ครู และเพื่อน มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่น และโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ มีผลต่อพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่น และผลการสังเคราะห์แก่นเรื่อง พบว่า มี 4 แก่นเรื่องที่สำคัญที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่น ได้แก่ การดำเนินนโยบายป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียน บทบาทในการป้องกันการสูบบุหรี่ของครู บรรทัดฐานการไม่สูบบุหรี่ และการทำหน้าที่ของครอบครัว โดยพบว่า ปัจจัยหลัก ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่น คือ ปัจจัยภายในบุคคล ปัจจัยระหว่างบุคคล และปัจจัยวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยนี้สามารถชี้ให้เห็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยรุ่นต่อไป
Factors Affecting Smoking Prevention Behavior among Adolescents:Research Synthesis by Systematic Review
This systematic review aimed to provide an up-to-date overview of, and to synthesize factors affecting smoking prevention behavior among adolescents. A systematic search of electronic database and grey literature from 2007 to 2016 identified sixteen studies that also met the inclusion criteria and quality appraisal. A statistical meta-analysis for quantitatve data and thematic synthesis for qualitative data were used for data analysis. Based on the meta-analysis, the findings showed that learning process for developing life skills program and social support from parents, teacher and peer group affecting smoking prevention behavior among adolescence, and promoting self-efficacy program and attitude toward smoking affecting smoking avoidance behavior among adolescence. Based on the thematic synthesis, revealed that four themes affecting smoking prevention behavior among adolescence; such as smoking prevention policy operation in school, teachers’ role in smoking prevention, non-smoking norm and family functioning. The essential factors affecting smoking prevention behavior among adolescence were intrapersonal, interpersonal and cultural and environment factors. These findings highlight the development of guidelines to strengthen smoking prevention among adolescents.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Behavioral Science Research Institute, SWU
114 Sukhumvit 23, Bangkok 10110, Thailand.
Tel.02-649-5000 # 17600