โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเป็นแฟนฟุตบอลทีมสโมสรฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกและพฤติกรรมการเป็นแฟนฟุตบอลที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางสังคมและสุขภาพจิต

Authors

  • สุรเดช ประยูรศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กาญจนา ภัทราวิวัฒน์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

พฤติกรรมแฟนฟุตบอล, สุขภาวะทางสังคม, สุขภาพจิต, ไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก, Football Fan Behavior, Social Well-Being, Mental Health, Thailand Premier League

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเป็นแฟนฟุตบอล และพฤติกรรมการเป็นแฟนฟุตบอลที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางสังคมและสุขภาพจิต 2) เพื่อเปรียบเทียบแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเป็นแฟนฟุตบอล และพฤติกรรมการเป็นแฟนฟุตบอลที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางสังคมและสุขภาพจิต ระหว่างสโมสรที่มีจำนวนผู้เข้าชมแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นแฟนฟุตบอลจำนวน 800 คน จากสโมสรที่มีค่าเฉลี่ยแฟนฟุตบอลสูงจำนวน 392 คน และสโมสรที่มีค่าเฉลี่ยแฟนฟุตบอลต่ำ 408 คน ผลการวิจัยพบว่า 1)โครงสร้างความสัมพันธ์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเป็นแฟนฟุตบอล และพฤติกรรมการเป็นแฟนฟุตบอลที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางสังคมและสุขภาพจิตมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์หลักจากปรับแบบจำลอง (c2 = 1568.86, df=360; p<0.00, CFI = 0.98, TLI = 0.98, RMSEA = 0.058) พบว่าการถ่ายทอดทางสังคมสู่สโมสรฟุตบอลเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงที่มีค่าอิทธิต่อการยึดมั่นผูกพันต่อสโมสรฟุตบอลสูงที่สุด โดยตัวแปรเชิงสาเหตุทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยึดมั่นผูกพันต่อสโมสรฟุตบอลได้ร้อยละ 54 นอกจากนี้พบว่าพฤติกรรมทั้งทางบวกและทางลบของแฟนฟุตบอลเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงกับสุขภาวะทางสังคม และพบว่ามีเพียงพฤติกรรมทางบวกของแฟนฟุตบอลเท่านั้นที่เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาพจิต 2)ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบจำลองโครงสร้างความสัมพันธ์พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตไม่มีความแตกต่างกันแต่พบว่ามีค่าเส้นสัมประสิทธิ์อิทธิเชิงสาเหตุแตกต่างกันอยู่ 3 เส้น จากการทดสอบค่าเฉลี่ยตัวแปรแฝงของทั้ง 2 กลุ่มพบว่าในกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยแฟนฟุตบอลสูงมีค่าเฉลี่ยตัวแปรแฝงในส่วนของการตลาดแบบบูรณาการสูงกว่าในสโมสรที่มีค่าเฉลี่ยแฟนฟุตบอลต่ำ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อสโมสรในการนำไปวางแผนการตลาด เพื่อรักษาและขยายฐานแฟนฟุตบอลของสโมสรส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

Structural Causal Relationships of Antecedent Factors of Becoming Football Fans of the Thailand Premier League Club and Fan Behavior Influencing Social Well-Being and Mental Health

The two main purposes of this study were: 1) to examine the structural causal relationships of antecedent factors of becoming football fans of the Thailand Premier League clubs and fan behavior influencing social well-being and mental health; and 2) to compare the structural causal relationships of antecedent factors to become football fans of the Thailand Premier League club and fan behavior influencing social well-being and mental health between  clubs that differed in terms of the size of the audience. The sample consisted of eight hundred football fans which were selected from high (392) to low (408). The research findings were as follows: 1) the hypothesized structural equation model of the structural causal relationships of antecedent factors to become fans of Thailand Premier League club and fan behavior influencing social well-being and mental health was adjusted, resulting in the level of goodness of fit indices (c2 = 1568.86, df=360; p<0.01, CFI = 0.98, TLI = 0.98, RMSEA = 0.058). The level of team socialization was found to be highest, directly affecting team identification and all causal variables that could account for fifty four percent of the variance in team identification. In addition, the positive and negative fan behaviors had a direct effect on social well-being while only positive fan behavior had a direct effect on mental health. 2) For results of model comparison, there were no differences in factor loadings on observed variables, but there were three differences of the coefficient effect of causal variables on outcome variables between both groups. Testing for invariant latent mean structures revealed one difference in terms of latent variable means across the two groups. The high audience group had higher means of integrated marketing communication than the low audience group. The data gained from this study will be useful for the football clubs in marketing planning aimed to maintain and expand the fan clubs, resulting in sustainable development

Downloads

Published

2018-01-31

How to Cite

ประยูรศักดิ์ ส., ศุภฤกษ์ชัยสกุล น., & ภัทราวิวัฒน์ ก. (2018). โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการเป็นแฟนฟุตบอลทีมสโมสรฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกและพฤติกรรมการเป็นแฟนฟุตบอลที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางสังคมและสุขภาพจิต. The Periodical of Behavioral Science, 24(1), 103–124. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSRI/article/view/110751